แนวทางนำไปปฏิบัติ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ

ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

 

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสาร

ตามกฎหมาย

ข้อ 2 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการตามกฎกระทรวงนี้ และต้องดูแลระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย






1. สำรวจพื้นที่ที่ติดตั้งระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
2. จัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วยการตรวจตรา
การอบรม การรณรงค์ ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟและการบรรเทาทุกข์
3. ดำเนินการตรวจสอบระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยตามแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย
4. บันทึกผลการตรวจสอบ และเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยไว้พร้อมตรวจ


ข้อ 3  กำหนดให้จัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพหนีไฟและปิดประกาศให้เห็นได้อย่างชัดเจน

1. สำรวจพื้นที่ที่จะติดตั้งเครื่องดับเพลิงและอพยพหนีไฟ
2.แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องจัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ
3. แจ้งผู้เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้งป้ายให้ครบทุกที่ตามบริเวณที่ติดตั้งเครื่องดับเพลิงและทางออกหนีไฟ
4.บันทึกภาพการติดป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ


ข้อ 4 ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ ๓ แล้วให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วยการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์

กำหนดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยและ สปก. ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปต้องจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยประกอบด้วยการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์ในสถานประกอบจิกการ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย


ข้อ 5 อาคารที่มีสถานประกอบกิจการหลายแห่งตั้งอยู่รวมกัน ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในอาคารนั้นมีหน้าที่ร่วมกันในการจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย รวมทั้งแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยด้วย

1. จัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย2. ตรวจตราการอบรม 

   2.1 การรณรงค์ ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง

   2.2 การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์ในสถานประกอบจิกการ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและปลอดภัย


ข้อ 6 กำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยโดยแจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนปฏิบัติงาน

1. สำรวจพื้นที่เสี่ยงในสถานประกอบการ
2. กำหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานกับสถานที่ที่เสี่ยงพร้อมติดประกาศ
3. บันทึกภาพการติดประกาศ


ข้อ 7 ให้แยกการจัดเก็บวัตถุที่ร่วมกันแล้วจะเกิดการลุกไหม้และวัตถุที่ร่วมกันและจะเกิดการอุ้มน้ำหรือซับน้ำ

1. สำรวจวัตถุวัตถุที่ร่วมกันแล้วจะเกิดการลุกไหม้และอุ้มน้ำหรือซับ ในสถานประกอบกิจการ                                     2. ดำเนินการแยกเก็บ ไม่ให้ปะปนกัน





ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้มีเส้นทางหนีไฟทุกชั้นของอาคารอย่างน้อยชั้นละสองเส้นทางซึ่งสามารถอพยพลูกจ้างที่ทางานในเวลาเดียวกันทั้งหมดสู่จุดที่ปลอดภัยได้โดยปลอดภัยภายในเวลาไม่เกินห้านาที

- เส้นทางหนีไฟจากจุดที่ลูกจ้างทางานไปสู่จุดที่ปลอดภัยต้องปราศจากสิ่งกีดขวาง

- ประตูที่ใช้ในเส้นทางหนีไฟต้องทาด้วยวัสดุทนไฟ ไม่มีธรณีประตูหรือขอบกั้น และเป็นชนิดที่บานประตูเปิดออกไปตามทิศทางของการหนีไฟกับต้องติดอุปกรณ์ที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ห้ามใช้ประตูเลื่อน ประตูม้วน หรือประตูหมุน และห้ามปิดตาย ใส่กลอน กุญแจ ผูก ล่ามโซ่ หรือทาให้เปิดออกไม่ได้ในขณะที่มีลูกจ้างทางาน

1. เส้นทางหนีไฟภายในอาคาร มีความพร้อมและติดไฟฟ้าสำรอง 

2. เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ลูกจ้างสามารถออกจากอาคารได้ภายใน 5 นาที

3. เส้นทางที่ใช้ออกจากอาคารต้องไม่มีสิ่งกีดขว้าง

4. ทางหนีไฟต้องทนความร้อน

และสามารถเปิดออกได้ทันโดยมีมีสิ่งกีดขวางประตู




ข้อ 9 กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไปหรือมีพื้นที่ประกอบกิจการตั้งแต่สามร้อยตารางเมตรขึ้นไปต้องมีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในอาคารทุกชั้น

1. สำรวจพื้นที่การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร

2. จัดหาอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้                                 3. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ภายในอาคาร
4. ดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้พร้อมเก็บบันทึกการตรวจสอบ


ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่ง

จ่ายไฟฟ้าสำรองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟและสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับ

1. สำรวจเส้นทางหนีไฟภายในอาคารให้มีแสงสว่างเพียงพอและพร้อมใช้งานตลอดเวลา

2. ติดไฟฟ้าสำรอง เพื่อเป็นแหล่งจ่ายไฟ 

4. ป้ายที่ใช้แสดงให้เห็นทางหนีไฟต้องมีตัวหนังสือสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร                                                               

3. เก็บบันทึกผลการตรวจสอบ ไว้พร้อมตรวจ


ข้อ 11  กำหนดให้มีเส้นทางหนีไฟภายในอาคารอย่างน้อง 2 เส้นทางและจัดให้มีแสงสว่างสำหรับทางหนีไฟในการอพยพต้องจัดจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟ มีขนาดตัวหนังสือสูงไม่น้อยกว่าสิบห้าเซนติเมตรป้ายต้องมีแสงสว่างในตัวเอง

1. สำรวจเส้นทางหนีไฟภายในอาคาร พร้อมติดไฟฟ้าสำรอง  

2. แจ้งผู้เกี่ยวข้องจัดทำป้ายทางออกหนีไฟ                    

3. แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องติดตั้งป้าย ทางออกหนีไฟและติดตั้งไฟแสงสว่าง 

4. ป้ายที่ใช้แสดงให้เห็นทางหนีไฟต้องมีตัวหนังสือสูงไม่น้อยกว่า 15 เซนติเมตร                                                                5. ดำเนินการตรวจสอบบริเวณทางออกหนีไฟและไฟแสงสว่างให้พร้อมใช้งาน                                                       5. เก็บบันทึกผลการตรวจสอบ ไว้พร้อมตรวจ


ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงขั้นต้นได้อย่างเพียงพอในทุกส่วนของอาคาร

(1) ในกรณีที่ไม่มีท่อน้ำดับเพลิงของทางราชการในบริเวณที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่หรือมี

แต่ปริมาณน้ำไม่เพียงพออาจจัดเตรียมน้าสำรองไว้ในปริมาณที่ใช้กับอาคารที่มีพื้นที่มากที่สุด

(2) ระบบการส่งน้ำ ที่เก็บกักน้ำ เครื่องสูบน้าดับเพลิง และการติดตั้ง จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองจากวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร

(3)(4) ข้อต่อท่อรับน้ำดับเพลิงเข้าอาคารและข้อต่อส่งน้ำภายในอาคารจะต้องเป็นระบบเดียวกับที่ใช้และในหน่วยดับเพลิงของทางราชการในท้องถิ่น

(5) สายส่งน้าดับเพลิงต้องมีความยาวหรือต่อกันให้มีความยาวเพียงพอที่จะควบคุมบริเวณที่เกิดเพลิง

ไหม้ได้

1. สถานประกอบกิจการนายจ้างต้องจัดให้มีระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างเพียงพอภายในอาคาร

2. ทำถังกักเก็บน้ำเพื่อเตรียมพร้อมเผชิญเหตุให้เพียงพออย่างน้อย 1 อาคาร

3. มีระบบส่งน้ำได้มาตรฐานเหมือนทางราชการในท้องถิ่น

4. การติดตั้งต้องได้รับการรับรองจากวิศวกรตามกฎหมาย

5. ข้อต่อน้ำต้องได้มาตรฐานเหมือนหน่วยงานราชการในท้องถิ่น

6. สายส่งมีความยาวแลเพียงพอในการควบคุมเพลิง


ข้อ 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามประเภทของเพลิงต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงว่า

เป็นชนิดใด ใช้ดับเพลิงประเภทใด และเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์นั้นต้องมีขนาดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน

(3) ห้ามใช้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่อาจเกิดไอระเหยของสารพิษ

- จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อน

ย้ายได้ตามจำนวน ความสามารถของเครื่องดับเพลิงและการติดตั้ง พื้นที่ของสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย ต้องมีระยะเข้าถึงไม่เกินยี่สิบสองเมตรห้าสิบเซนติเมตร จัดให้มีการดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี โดยการตรวจสอบต้องไม่น้อยกว่าหกเดือนต่อหนึ่งครั้ง พร้อมกับติดป้ายแสดงผลการตรวจสอบและวันที่ทาการตรวจสอบครั้งสุดท้ายไว้ที่อุปกรณ์ และเก็บผลการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจได้ตลอดเวลารวมทั้งต้องมีการซ่อมบำรุงและเปลี่ยนถ่ายสารดับเพลิงตามข้อกำหนดของผู้ผลิตด้วย

1. ต้องมีถังดับเพลิงแบบ เคลื่อนย้าย ประเภท A , B , C

2. มีป้ายแสดงสัญลักษณ์ชนิดเครื่องดับเพลิงแต่ละประเภทอย่างเอียด

3. ตัวหนังสือที่แสดงสัญลักษณ์ต้องมีขนาดตามกฎหมายกำหนดและมองเห็นได้อย่างชัดเจน

4. นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบถังดับเพลิง อยู่ประจำและจัดทำบันทึกเป็นข้อมูลเป็นประจำ

5. มีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง

6. สามารถหยิบถังดับเพลิงได้ระยะเข้าถึงไม่เกิน 20 เมตร

7. เมื่อตรวจสอบพบว่ามีความบกพร่องของเครื่องดับเพลิงให้ทำการซ่อมบำรุงให้พร้อมใช้งานทันที



ข้อ 14 ระบบดับเพลิงอัตโนมัติต้องไปตามมาตรฐาน เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ต้องเปิดวาล์วระบบจ่ายน้ำเข้าหรือสารดับเพลิงอื่นอยู่ตลอดเวลาและต้องมีผู้ควบคุม มีติดตั้งสัญญาณเตือนภัยในขณะที่ระบบทำงานและไม่มีสิ่งกีดขวาง

1. ออกแบบการติดตั้งระบบน้ำดับ

เพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงโดยวิศวกรหรืผู้เชี่ยวชาญ                     

2. ดำเนินการติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิง ติดตั้งโดยวิศวกรตามกฎมายวิศวกร

3. ดำเนินการตรวจสอบระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงและรับรองจากวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร

4. เก็บบันทึกตรวจสอบ ไว้พร้อมตรวจตลอดเวลา


ข้อ 12 ข้อ 15 กำหนดให้มีระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงในสถานที่มีสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรงหรือปานกลาง

1. สำรวจสถานที่ที่ใช้สำหรับติดตั้งระบบน้ำดับเพลิงและสถานที่มีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรง
2. ออกแบบการติดตั้งระบบน้ำดับ

เพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงโดยวิศวกรหรืผู้เชี่ยวชาญ                     

3. ดำเนินการติดตั้งระบบน้ำ



ดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิง ติดตั้งโดยวิศวกรตามกฎมายวิศวกร           

4. ดำเนินการตรวจสอบระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบเพื่อใช้ในการดับเพลิงและรับรองจากวิศวกรตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
5. เก็บบันทึกตรวจสอบ ไว้พร้อมตรวจตลอดเวลา


ข้อ 13 ข้อ 15 ต้องจัดให้มีเครื่องดับเพลิงสำหรับเคลื่อนย้ายได้ให้เหมาะสมกับประเภทเชื้อเพลิงนั้นๆ

สำรวจสถานที่มีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างเบาและดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน







1. สำรวจสถานที่มีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
2. จัดทำแบบบันทึกรายงานทีมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยและการตรวจ

สอบเครื่องดับเพลิงสำหรับเคลื่อนย้าย               3. จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
4. ดำเนินการตรวจสอบเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อยหกเดือนต่อหนึ่งครั้ง
5.เก็บผลการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจได้ตลอดเวลา


ข้อ 14 ระบบดับเพลิงอัตโนมัติต้องไปตามมาตรฐานของ มศว. ต้องเปิดวาล์วระบบจ่ายน้ำเข้าหรือสารดับเพลิงอื่นอยู่ตลอดเวลา
และต้องมีผู้ควบคุม มีติดตั้งสัญญาณเตือนภัยในขณะที่ระบบทำงานและไม่มีสิ่งกีดขวาง

1. ทบทวนมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และดำเนินการออกแบบระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
2. ดำเนินการติดตั้งโดยผู้เชี่ยวชาญ ให้ได้ตามมาตรฐาน มศว.


ข้อ 16 กำหนดให้ติดตั้งป้ายแสดงจุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงให้ชัดเจนและติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงให้ชัดเจน ไม่มีสิ่งกีดขวางทำการตรวจสอบให้พร้อมใช้งาน

1. ทำการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิงพร้อมป้าย ให้ชัดเจน           

2. ทำแบบบันทึกการดูแลรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี
3. เก็บบันทึกผลการตรวจสอบ


ข้อ 17 จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิงและการฝึกซ้อมดับเพลิงซึ่งต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเช่น เสื้อคลุมดับเพลิง รองเท้า ถุงมือ หมวก หน้ากากป้องกันความร้อนหรือควันพิษ

1. สำรวจอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิง

 2. เขียนรายการอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิงและการฝึกซ้อมดับเพลิง                           

3. แจ้งผู้เกี่ยวข้องให้ทำการจัดซื้ออุปกรณ์

 

ข้อ 18 จัดให้มีมาตรการป้องกันการ

กระจายตัวของความร้อน ได้แก่กระแสไฟฟ้าลัดวงจรเครื่องยนต์หรือปล่องไฟ การแผ่รังสีการเสียดสีหรือเสียดทานของเครื่องจักร การสะสม

ของไฟฟ้าสถิต การเชื่อมหรือตัดโลหะการสะสมความร้อนของป่องระบายควัน

1. ทำการสำรวจแหล่งก่อเกิดการ

กระจายตัวของความร้อน     

2. ตรวจสอบกระไฟฟ้าลัดวงจรให้เป็นไปตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า                             3.ทำการติดตั้งเครื่องยนต์หรือปล่องไฟ

ป้องกันไม่ให้เกิดลูกไฟหรือเขม่าไฟกระเด็นถูกวัตถุที่ติดไฟได้                             4. จัดให้มีผู้ควบคุม(เฉพาะทาง)ป้องกันการแผ่ความร้อนจากแหล่งกำเนิดความร้อนไปสู่วัตถุที่ติดไฟได้ง่าย                    5.ตรวจสอบการทำงานของเครื่องจักรไม่ให้มีการเสียดสีหรือเสียดทานอันก่อให้เกิดประกายไฟหรือความร้อนอาจทำให้เกิดการลุกไหม้                                                             6. การทำติดตั้งสายดิน เพื่อลดการสะสมของไฟฟ้าสถิต ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า                                                                   7. การเชื่อมหรือตัดโลหะ ต้องมีการขออนุญาตหัวหน้างาน
8. ไม่ติดตั้งปล่องระบายควันใกล้กับวัตถุที่ติดไฟได้ง่ายและหุ้มปล่องระบายควันด้วยฉนวนที่ไม่ติดไฟ

 

ข้อ 19 กำหนดให้มีมาตรการป้องกันในการเก็บหรือขนถ่ายวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิดให้เป็นไปตามกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิด

1. ทบทวนกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายวัตถุไวไฟ หรือวัตถุระเบิด
2. จัดทำมาตรการป้องกันการเก็บหรือขนถ่ายวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด


ข้อ 20 กำหนดสถานที่เก็บถังก๊าซชนิดเคลื่อนย้ายได้ชนิดของเหลว

1. การเก็บถังก๊าซไว้ภายนอกอาคารโดยเป็นอาคารเปิดโล่งมีการป้องกันความร้อน
2. การเก็บถังก๊าซภายในอาคารต้องทำการแยกเก็บไว้ในห้องที่มีผนังทนไฟและระบายอากาศได้ดี มีระบบตรวจ

จับก๊าซอัตโนมัติเก็บรวมกันไม่เกินสองพันลิตร ห่างกันไม่น้อยกว่ายี่สิบเมตร
3. ห้ามเก็บถังก๊าซไว้ใกล้วัตถุที่ลุกไหม้ได้ง่าย

4. มีการติดตั้งฝาครอบหัวถังมีโซ่หรือวัตถุอื่นที่ลักษณะเดี่ยวกันรัดถังกันล้ม เพื่อความปลอดภัย


ข้อ 21 จัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายจากถ่านหิน เซลลูลอยด์หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่าย

1. เก็บถ่ายหินในที่โล่งแจ้ง ต้องพรมน้ำให้เปียกชื้นตลอดเวลา 

2. ถ่านหินที่บดแล้วหรือชนิดผงหากมีอุณหภูมิสูงกว่าหกสิบห้าองศาเซลเซียสต้องทำให้เย็นก่อนนำไปเก็บใส่ไว้ในถังหรือภาชนะ
3. ถังหรือภาชนะที่ใช้เก็บถานหินหรือผงแร่ต้องทนไฟฝาปิดมิดชิดและเก็บไว้ห่างจากแหล่งความร้อน


ข้อ 22 แยกเก็บวัตถุที่ติดไฟได้ง่ายประเภทไม้ กระดาษ ขนสัตว์ ฟางโฟม ฟองน้าสังเคราะห์ หรือสิ่งอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน

1.สำรวจวัตถุที่ติดไฟได้ง่าย
2.ดำเนินการแยกเก็บวัตถุที่ติดไฟได้ง่ายไว้ในอาคารที่ต่างกันหรือเก็บในห้องทนไฟ
3. จัดทำป้ายชี้บ่ง วัตถุติดไฟได้ง่าย


ข้อ 23 กำหนดให้มีการกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่าย

1. ทำความสะอาดของเสียที่ติดไฟได้ง่ายต้องทำไม่น้อยกว่าวันละหนึ่งครั้ง
2. เก็บรวบรวมของเสียที่ติดไฟได้ง่ายไว้ในภาชนะปิดที่เป็นโลหะ
3.นำของเสียไปกำจัดให้หมดอย่างน้อยเดือนละหนึ่ง โดยวิธีการที่ปลอดภัย เช่นการเผา การฝัง


ข้อ 24 การกำจัดของเสียที่ติดไฟได้ง่ายโดยการเผา เผาในที่โล่งโดยให้ห่างจากลูกจ้างทำงานในระยะที่ปลอดภัยและอยู่ใต้ลม

1.ออกแบบเตเผาสำหรับการเผาโดยเฉพาะ
2. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้กับลูกจ้างที่ทำหน้าเผาของเสียติดไฟ


ข้อ 25 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสำหรับอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง

(1) อาคารที่มีวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด

(2) สิ่งก่อสร้างที่มีความสูง ประเภท ปล่องควัน หอคอย เสาธง ถังเก็บน้ำหรือสารเคมีและการติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าให้ปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

1.  จัดทำอุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าสำหรับอาคารก่อสร้าง

2. อาคารที่ต้องจัดทำ อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า คืออาคารที่มีวัตถุระเบิด อาคารสูง หอคอย เสาร์ธง ถังเก็บน้ำ

3. การติดต้องต้องได้ป้องกันอันตรายจากมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์


ข้อ 26 กำหนดให้มีระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าสาหรับอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง ได้แก่อาคารที่มีวัตถุไวไฟหรือวัตถุระเบิด สิ่งก่อสร้างที่มีความสูง ประเภท ปล่องควันฯลฯ และจัดให้มีมาตรการป้องกันผลกระทบจากฟ้าผ่าเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของอาคาร

1 ทบทวนมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
2. ให้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบการติดตั้งระบบป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า
3. จัดทำมาตรการป้องกันผลกระทบจากฟ้าผ่าเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของอาคาร ติดป้ายประกาศ


ข้อ 27 จัดให้มีการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการ

1.จัดการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นให้ลูกจ้างโดยผู้ได้รับอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการอบรม
2. บันทึกการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น


ข้อ 28 สถานประกอบกิจการต้องจัดให้มีกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อป้องกันอัคคีภัยและมีผู้ทำหน้าที่อำนวยการระงับอัคคีภัยเมื่อเกิดเพลิงไหม้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยต้องได้รับการฝึกอบรม

1.แต่งตั้งผู้ทำหน้าที่อำนวยการระงับอัคคีภัยเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
2.จัดทำทีมการป้องกันและระงับ

อัคคีภัยและระบุหน้ารับผิดชอบ

3.จัดการฝึกอบรมให้กับผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

4. เก็บบันทึกการฝึกอบรม


ข้อ 29 ข้อ 30 กำหนดให้มีการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟให้กับลูกจ้างอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและก่อนการอบรม 30 วัน ต้องส่งแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟจัดทำรายงานส่งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม

1.จัดทำแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
2.ส่งแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อให้ความเห็นชอบและส่งก่อนการฝึกซ้อมสามสิบวัน
3.ดำเนินการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟโดยผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกซ้อม
4.จัดทำรายงานผลการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟตามแบบที่อธิบดีกำหนด
5.ส่งรายงานผลการฝึกซ้อม ดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม
6.จัดเก็บแผนและรายงานการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ




กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการ

ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย  พ.ศ. 2561 (ฉบับที่ 2) 

 

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

แบบฟอร์ม

ตามกฎหมาย

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความใน (1) ของข้อ 11 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัย อำชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

 (1) ตัวอักษรต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าสิบเซนติเมตร และมองเห็นได้อย่างชัดเจน

ข้อความที่ใช้เขียนเพื่อแสดงให้ผู้ปฏิบัติงานเห็น ต้องทำตามนี้

1. ต้องมีขนาดไม่เล็ก กว่า 10 เซนติเมตร

2. บริเวณที่ติดป้ายควรจัดให้เห็นเด่นชัด


ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในข้อ 21 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการและดำเนินการด้ำนความปลอดภัย อำชีวอนำมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงนเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน ข้อ 21 การป้องกันอันตายจากถ่านหินที่กองเก็บในที่โล่งแจ้ง ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(1) ต้องพรมน้ำเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน

(2) ต้องอัดทับให้มีโพรงอากาศในกองถ่านหินน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการลุกไหม้ที่เกิดได้เอง

(3) ในบริเวณที่มีฝุ่นถ่านหินฟุ้งกระจายและมีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดฝุ่นต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและล

1. จัดสภาพแวดล้อมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานอยู่ตลอดเวลา

2. ต้องพรมน้ำเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นถ่านหิน

3. ต้องอัดทับให้มีโพรงอากาศในกองถ่านหินน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการลุกไหม้ที่เกิดได้เอง

4. จัดทำแผนป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงานและแผนเผชิญเหตุเมื่อเกิดการระเบิดของฝุ่น

5. ฝึกซ้องอพยพเสมือนเกิดขึ้นจริงเพื่อเตรียมความพร้อมในการเกิดเหตุ

6. ถ่านหินที่กองสูงเกิน 3 เมตร ต้องมีการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และทำการบันทึกผลทั้งปี

7. หากกองหินที่ตรวจมีอุณหภูมิ 60องศาเซลเซียสขึ้นไป ต้องทำดั่ง

5.1 ทำการคัดแยกถ่านหิน


ความรุนแรงของผลกระทบจากการเกิดระเบิดฝุ่น

(4) การกองเก็บถ่านหินสูงเกินสามเมตร ต้องติดตามตรวจวัดอุณหภูมิของกองถ่านหินอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และจัดเก็บรายงานผลการบันทึกไว้ที่สถานประกอบกิจการอย่างน้อยหนึ่งปี

(5) ในกรณีที่มีการตรวจวัดอุณหภูมิของกองถ่านหินตาม (4) หากกองถ่านหินมีอุณหภูมิตั้งแต่หกสิบห้าองศาเซลเซียสขึ้นไป ต้องคัดแยกถ่านหินออกจากกองหรือใช้มาตรการอื่นเพื่อป้องกันการลุกไหม้ที่เกิดได้เอง”

5.2 มีมาตรการควบคุมการเกิดเพลิงไหม้

5.3 มีการเตรียมพร้อมและรายงานผลต่อนายจ้างเพื่อเตือนภัยที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย


ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 21/1 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อำชีวอนำมัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับ

การป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

“ข้อ 21/1 การป้องกันอันตรายจากการเก็บถ่านหิน ผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย เซลลูลอยด์หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายที่เก็บในไซโล ถัง หรือภาชนะ ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

 (1) การเก็บถ่านหินหรือผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย ไซโล ถัง หรือภาชนะที่เก็บนั้น ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟที่มีฝาปิดมิดชิด และเก็บไว้ให้ห่างไกลจากแหล่งความร้อน

(2) การเก็บเซลลูลอยด์หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่าย ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันการลุกไหม้จากแหล่งความร้อนหรือการผสมกับอากาศที่จะก่อให้เกิดการลุกไหม้ได้ในการเก็บถ่านหิน ผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย เซลลูลอยด์ หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่ายตาม (1)

และ (2) หากมีความเสี่ยงต่อการเกิดระเบิดฝุ่น ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและลดความรุนแรงของผลกระทบจากการเกิดระเบิดฝุ่นด้วย”

การเก็บถ่านหิน ผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย เซลลูลอยด์

1. การเก็บถ่านหินหรือผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย ไซโล ถัง หรือภาชนะที่เก็บนั้น ต้องสร้างด้วยวัสดุทนไฟ

2. มีฝาปิดมิดชิด

3. เก็บไว้ให้ห่างไกลจากแหล่งความร้อน

4. ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันการลุกไหม้

5. จัดกรตรวจสอบเพื่อประเมินความเสี่ยงจากการเกิดการลุไหม้ เพื่อป้องกันการเกิดเพลลิงไหม้

6. จัดทำแผนเผชิญเหตุ

7. ทำการตรวจและบันทึกข้อมูลทุกสัปดาห์ และเป็นประจำตลอดทั้งปี


หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เนื่องจากกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน

ในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 ในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดขนาดของตัวอักษรของป้ายบอกทางหนีไฟและมาตรการป้องกันอันตรายจากถ่านหิน ผงแร่ที่ลุกไหม้ได้ง่าย เซลลูลอยด์ หรือของแข็งที่ติดไฟได้ง่าย ยังไม่มีความเหมาะสม สมควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้นายจ้างสำมารถบริหาร จัดการ และดำเนินกรด้านความปลอดภัย

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

1. ต้องมีขนาดไม่เล็ก กว่า 10 เซนติเมตร

2. บริเวณที่ติดป้าควรจัดให้เห็นเด่นชัด

3. มีการฝึกอบรมพนักงานเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีในการทำงาน

4. ทำการประเมินตรวจสอบและบันทึกผลเป็นประจำทุกสัปดาห์

5. จัดทำแผนเผชิญเหตุ



I BUILT MY SITE FOR FREE USING