แนวทางนำไปปฏิบัติ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร

และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม

ในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547

 

   

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสาร

ตามกฎหมาย

ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้“ที่อับอากาศ” หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและมีการระบายอากาศไม่เพียงพอที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูกสุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน “บรรยากาศอันตราย” หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจาก สภาวะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร

(2) มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

(3) มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (Lower Flammable Limit หรือ Lower Explosive Limit)

1. สำรวจพื้นที่อับอากาศในสถานประกอบกิจการ ลักษณะของที่อับอากาศ เป็นไปตาม (1) ถึง (3)

2.จัดทำทะเบียนที่อับอากาศ และดำเนินการให้เป็นตามที่กฎหมายกำหนด













ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดทำป้ายแจ้งข้อความว่า “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ให้มีขนาดมองเห็นได้ชัดเจน ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยบริเวณทางเข้าออกของที่อับอากาศทุกแห่ง







1.จัดทำระเบียบปฏิบัติงาน คู่มือปฏิบัติงาน หรือวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกต้องและปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ                            2. สำรวจที่อับอากาศภายในสถานประกอบกิจการ                  

3. จัดทำทะเบียนที่อับอากาศภายในสถานประกอบกิจการ   

4. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำป้ายข้อความ "ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า" ให้สอดคล้องตามมาตรฐานสีสากล              

5. ดำเนินการติดตั้งให้สามารถมองเห็นชัดเจนบริเวณทางเข้าออก ที่อับอากาศทุกแห่ง พร้อมบันทึกภาพประกอบ







ข้อ 4 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศ เว้นแต่นายจ้างได้ดำเนิน การให้มีความปลอดภัยตามกฎกระทรวงนี้แล้วและลูกจ้างหรือบุคคลนั้นได้รับอนุญาตจากผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตตามข้อ 18 และเป็นผู้ผ่านการอบรมตามข้อ 21






1.สำรวจรายชื่อผู้ที่ต้องปฏิบัติงานในที่อับอากาศ 

2.กำหนดความต้องการในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศสำหรับพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในที่อับอากาศ                        

3.จัดทำแผนการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับ อากาศ                                                                      

4.ดำเนินการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด           

5.จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม พร้อมทั้งเก็บหลักฐานการฝึกอบรม                                       

 6.แต่งตั้งผู้มีหน้าที่อนุญาตทำงานในที่อับอากาศ                    

7. ปิดประกาศหนังสือแต่งตั้งผู้มีหน้าที่อนุญาตทำงานใน ที่อับอากาศ


ข้อ 5 ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่

อับอากาศหากนายจ้างรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในที่อับอากาศอาจเป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว


1.ดำเนินการตรวจสุขภาพ (EKG, Lung function test)

2.เก็บผลการตรวจสุขภาพ

3.ดำเนินการฝึกอบรมให้แก่ลูกจ้างที่ปฏิบัติงานกับสารเคมีอันตราย                              4.จัดทำขั้นตอนการปฏิบัติกรณีมีข้อร้องเรียนหรือมีปัญหา ด้านความไม่ ปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย


ข้อ 6 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่ โดยให้ดำเนินการทั้งก่อนให้ลูกจ้างเข้าไปทำงานและในระหว่างที่ลูกจ้างทำงาน ในที่อับอากาศ ถ้านายจ้างตรวจพบบรรยากาศอันตรายให้นายจ้างดำเนินการ ดังต่อไปนี้

(1) นำลูกจ้างและบุคคลที่

อยู่ในที่อับอากาศออกจากบริเวณนั้นทันที

(2) ประเมินและค้นหาว่า

บรรยากาศอันตรายเกิดจากสาเหตุใด

(3) ดำเนินการเพื่อทำให้

สภาพอากาศในที่อับอากาศนั้นไม่มีบรรยากาศอันตรายเช่น การระบายอากาศ หรือการปฏิบัติตามมาตรการอื่น แล้วที่อับอากาศนั้นยังมีบรรยากาศอันตรายอยู่แต่นายจ้างมีความจำเป็นที่จะต้องให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในที่อับอากาศที่มีบรรยากาศอันตรายนั้นให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างหรือบุคคลนั้นสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลชนิดที่ทำให้บุคคลดังกล่าวทำงานในที่อับอากาศนั้นได้โดยปลอดภัย ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจวัด การประเมินสภาพอากาศ และการดำเนินการเพื่อให้สภาพอากาศในที่อับอากาศไม่มีบรรยากาศอันตรายไว้พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจ

1.ทำการตรวจวัด บันทึกผลการตรวจวัด และประเมินสภาพอากาศในที่อับอากาศว่ามีบรรยากาศอันตรายหรือไม่ ก่อนจะมีการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ โดยการใช้เครื่องมือตรวจวัด

ให้ได้ผลดังนี้

- มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5

- มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้เกินร้อยละ 10 ของค่า LEL

- มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้เท่ากับหรือมากกว่าค่า LEL

- มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนด

- สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตราย












แรงงานตรวจสอบได้



ข้อ 7 กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ ให้นายจ้างแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรูความสามารถและไดรับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามข้อ 21 ให้เป็นผู้ควบคุมงานคนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็นเพื่อทำหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) วางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

(2) ชี้แจงและซักซ้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการปฏิบัติงาน และวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว

(3) ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องมือป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

สวนบุคคลและให้ตรวจตรา

อุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน

(4) สั่งให้หยุดการทำงานไวชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้างจนกว่าเหตุนั้นจะหมดไป และหากจำเป็นจะขอให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตตาม ขอ 18 ยกเลิกการอนุญาตนั้นเสียก็ได

1.นายจ้างต้องแต่งตั้งลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถและไดรับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

โดยมีหน้าที่ดังนี้

1) วางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

(2) ชี้แจงและซักซ้อมหน้าที่ความรับผิดชอบ วิธีการปฏิบัติงาน และวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว

(3) ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องมือป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

สวนบุคคลและให้ตรวจตรา

อุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งาน

(4) สั่งให้หยุดการทำงานไวชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้างจนกว่าเหตุนั้นจะหมดไป และหากจำเป็นจะขอให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตตาม ขอ 18 ยกเลิกการอนุญาตนั้นเสียก็ได











ข้อ 8  ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งไดรับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตาม

ขอ 21 คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เป็นผู้ช่วยเหลือพร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานคอยเฝ้าดูแลบริเวณทาง เขา-ออก ที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศไดตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศ

1.จัดให้ลูกจ้างซึ่งไดรับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตาม ขอ 21 คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เป็นผู้ช่วยเหลือพร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานคอยเฝ้าดูแลบริเวณทาง เขา-ออก ที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับลูกจ้างที่ทำงานในที่อับอากาศไดตลอดเวลา เพื่อช่วยเหลือลูกจ้างออกจากที่อับอากาศ

 

 

 

 

ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสมกับลักษณะงานตามมาตรฐาน ที่อธิบดีประกาศกำหนด และนายจ้างต้องควบคุมดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในที่อับอากาศและผู้ช่วยเหลือสวมใสหรือใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตนั้น   

1. สำรวจจำนวนผู้ปฏิบัติงาน

2. จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

3. จัดฝึกอบรมวิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ถูกต้อง




ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งเปิดกั้นมิให้บุคคลใดเขาหรือตกลงไปในทีอับอากาศที่มีลักษณะเป็น

ชอง โพรง หลุม ถังเปิด หรือที่มีลักษณะคล้ายกัน

1.จัดทำรั้วกั้น บริเวณที่ทำงานเพื่อป้องกันมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาได้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือพลาดตกลงไป



ข้อ 11. ให้นายจ้างปิด กั้น หรือกระทำโดยวิธีการอื่นใดที่มีผลในการป้องกันมิให้พลังงานสาร หรือสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่บริเวณ

ที่อับอากาศในระหว่างที่ลูกจ้าง

1.จัดทำรั้วกั้น หรือฝาครอบปิด บริเวณที่ทำงานเพื่อป้องกันมิให้ ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามาได้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือพลาดตกลงไป



กำลังทำงาน



ข้อ 12 ให้นายจ้างจัดบริเวณทางเดินหรือทางเขาออกที่อับอากาศให้มีความสะดวกและปลอดภัย

ห้ามมีสิ่งกีดขว้างหรือสิ่งของวาง ปิด ทางเข้า-ออก พื้นที่อับอากาศ




ข้อ 13 ให้นายจ้างประกาศห้ามลูกจ้างสูบบุหรี่ หรือพกพาอุปกรณ์สำหรับจุดไฟหรือติดไฟที่ไมเกี่ยวข้องกับการทำงานเข้าไปในที่ อับอากาศปิดไว้บริเวณทางเข้าออก

ห้ามอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟในที่อับอากาศ เว้นแต่มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


ข้อ 14 ให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในที่อับอากาศ และตรวจสอบให้อุปกรณ์ไฟฟ้านั้นมีสภาพสมบูรณและปลอดภัยพร้อมใช้ใช้งาน ถ้าที่อับอากาศนั้นมีบรรยากาศที่ไวไฟหรือระเบิดไดต้องเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดที่สามารถป้องกันมิให้ติดไฟหรือระเบิดได้

จัดและตรวจสอบให้มีอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสมในการใช้งานในที่อับอากาศ และอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

ปลอดภัย










ข้อ 15 ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและจำนวนเพียงพอที่จะใช้ไดทันทีเมื่อมีการทำงานที่อาจก่อให้เกิดการลุกไหม้

จัดให้มีเครื่องดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพและเพียงพอต่อการใช้งาน



ข้อ 16 ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน หรือประกายไฟในที่อับอากาศ เช่น การเชื่อม การเผาไหม การย้ำหมุด การเจาะ หรือการขัด เว้นแต่จะไดจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมตามหมวดนี้


ห้ามอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟในที่อับอากาศ เว้นแต่มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ



ข้อ 17 ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่ใช้สารระเหยง่าย สารพิษ สารไวไฟในที่อับอากาศ เว้นแต่จะไดจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสมตามหมวดนี้

ห้ามอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานที่ใช้ไอระเหยง่าย สารพิษ หรือสารไวไฟในที่อับอากาศ เว้นแต่มีมาตรการป้องกันที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ


ข้อ 18 ให้นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศในการนี้นายจ้างจะมอบหมายเป็นหนังสือให้ลูกจ้าง ซึ่งไดรับการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตาม ขอ 21 คนหนึ่งหรือหลายคนตามความจำเป็น เป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตแทนก็ไดให้นายจ้างเก็บหนังสือมอบหมายไวณ สถานประกอบกิจการพรอมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได

นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ในการอนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศ หรืออาจมอบหมายเป็นหนังสือให้ลูกจ้างที่ผ่านการอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศเป็นผู้รับผิดชอบแทนได้ พร้อมจัดเก็บเอกสารหลักฐานไว้ให้สามารถตรวจสอบได้







ข้อ 19 ให้นายจ้างจัดให้มีหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่

อับอากาศทุกครั้งและหนังสืออนุญาตนั้นอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

  • ที่อับอากาศที่อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน
  • วัน เวลา ในการทำงาน
  • งานที่ให้ลูกจ้างเข้าไปทำ
  • ชื่อลูกจ้างที่อนุญาตให้เข้าไปทำงาน
  • ชื่อผู้ควบคุมงานตามข้อ 7
  • ชื่อผู้ช่วยเหลือตามข้อ 8
  • มาตรการความปลอดภัย

1.จัดให้มีหนังสืออนุญาตให้ทำงานในที่อับอากาศทุกครั้ง โดยมีรายละเอียดอย่างน้อยดังนี้

- ที่อับอากาศที่อนุญาตให้เข้าทำงาน

- วันและเวลาในการทำงาน

- งานที่ให้ลูกจ้างเข้าไปทำ

- ชื่อลูกจ้างที่เข้าไปทำงาน ชื่อผู้ควบคุม และชื่อผู้ช่วยเหลือ

- มาตรการความปลอดภัยที่เตรียมไว้

- ผลการตรวจสภาพอากาศ

- อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ช่วยเหลือ

- อันตรายที่อาจเกิดและวิธีการหลีกหนีภัย

- ชื่อและลายมือชื่อผู้ขออนุญาตและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต



  • ที่เตรียมไว้ก่อนการให้ลูกจ้างเข้าไปทำงาน
  • ผลการตรวจสภาพ
  • อากาศและสภาวะที่อาจเกิดอันตราย
  • อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต
  •  อันตรายที่ลูกจ้างอาจไดรับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย

 ชื่อและลายมือชื่อผู้ขออนุญาต และชื่อและลายมือชื่อผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาตตาม ขอ 18



ข้อ 20 ให้นายจ้างเก็บหนังสืออนุญาตให้ลูกจ้างทำงานในที่อับอากาศตาม ขอ 19 ไว ณ สถานที่ประกอบกิจการพรอมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบไดและให้ ปิดสำเนาหนังสือดังกล่าวไว้ที่บริเวณทางเข้าที่อับอากาศให้เห็นชัดเจนตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงาน


เก็บหนังสืออนุญาตไว้ให้สามารถตรวจสอบได้ และปิดประกาศสำเนาหนังสือไว้ที่ทางเข้าที่อับอากาศ














ข้อ 21 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความรูความเข้าใจทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัย ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย พรอมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน

จัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศพรอมทั้งวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน






ข้อ 22 ให้นายจ้างเก็บหลักฐานการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตาม ขอ 21 ไวพรอมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

1.จัดเก็บแบบเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานพรอมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้








I BUILT MY SITE FOR FREE USING