สาระสำคัญของกฎหมาย | แนวทางปฏิบัติ | เอกสาร ตามกฎหมาย |
2.จัดทำบัญชีรายชื่อและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย และแจ้งต่ออธิบดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครอง และให้ทำการแจ้งภายในเดือนมกราคมของทุกปี | 1.สำรวจจำนวนสารเคมีอันตรายที่ครอบครอง 2.จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย และรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตรายที่ครอบครอง แจ้งต่ออธิบดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครอง และให้ทำการแจ้งภายในเดือนมกราคมของทุกปี | |
3.จัดทำคู่มือเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและขั้นตอนในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย คำแนะนำลูกจ้างเกี่ยวกับการป้องกันอันตราย ความหมายของข้อมูลที่มีบนฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย | 1.จัดอบรมพนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ที่ปลอดภัยและถูกต้อง 2.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 3.จัดทำคู่มือการทำงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย | |
4.ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินต้องบรรเทาเหตุและแจ้งหัวหน้างานทราบทันที | 1.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 2.อบรมให้ความรู้การทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัย และซ้อมการเกิดเหตุฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น บรรเทาเหตุ และแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที | |
5.ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัยตามคู่มือการปฏิบัติงาน ที่นายจ้างจัดทำขึ้นตามข้อ 4 และเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ลูกจ้างต้องบรรเทาเหตุ และแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที | 1.จัดอบรมให้ความรู้การทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัย และซ้อมการเกิดเหตุฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น บรรเทาเหตุ และแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที 2.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 3.จัดทำคู่มือการทำงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย | |
6.ปิดฉลากภาษาไทยไว้ที่บรรจุภัณฑ์ แสดงชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อสารเคมีอันตราย รูป สัญลักษณ์ สัญญาณ ข้อความแสดงอันตราย และข้อควรระวังหรือข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย และจัดให้มีป้ายห้าม ป้ายให้ปฏิบัติ หรือป้ายเตือนในที่เปิดเผย เห็นชัดเจน | 1.ปิดฉลากรายละเอียดความปลอดภัย ไว้ที่บรรจุภัณฑ์ เป็นภาษาไทยมีขนาดใหญ่ชัดเจน อ่านง่าย คงทน 2.จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ รายชื่อสารเคมีอันตราย ป้ายสัญลักษณ์ ข้อความแสดงอันตราย และข้อควรระวังหรือข้อปฏิบัติเพื่อป้องกันอันตราย 3.ทำคู่มือการทำงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย | |
7.ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายห้าม ป้ายให้ปฏิบัติ หรือป้ายเตือน ในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตรายไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ชัดเจน ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง | 1.จัดทำป้ายห้าม ป้ายให้ปฏิบัติ หรือป้ายเตือน ในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตรายไว้อย่างชัดเจน | |
8.สารเคมีอันตรายที่อธิบดีกำหนดให้ควบคุมเป็นพิเศษ ให้ปิดประกาศหรือจัดทำป้ายแจ้งข้อความเกี่ยวกับอันตรายและมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากสารเคมีอันตรายดังกล่าว | 1.ปิดประกาศข่าวสาร ให้ความรู้เกี่ยวกับสารเคมีอันตราย 2.กำหนดมาตรการป้องกันอันตรายที่อาจเกิด จากสารเคมีที่มีพิษเป็นพิเศษ | |
9.จัดทำป้ายข้อความ “ห้ามสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม ประกอบอาหาร หรือเก็บอาหาร” ณ บริเวณสถานที่ทำงาน สถานที่เก็บ หรือในยานพาหนะขนส่งสารเคมีอันตราย | 1.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ 2.จัดทำป้ายข้อความ หรือสัญญาลักษณ์ที่เห็นชัดเจน 3.จัดทำที่พักสำหรับพนักงาน | |
10.จัดให้บริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย มีสภาพถูกสุขลักษณะ มีระบบระบาย โดยให้มีออกซิเจนในบรรยากาศไม่ต่ำกว่าร้อยละ 19.5 โดยปริมาตร และมีระบบป้องกันและกำจัดอากาศเสีย | 1.บริเวณพื้นที่ทำงาน ต้องถูกสุขลักษณะ สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นที่ทำงานต้องเรียบ สม่ำเสมอ ไม่ลื่น และไม่มีวัสดุเกะกะกีดขวางทางเดิน มีระบบระบายอากาศ 2. จัดให้มีสถานที่และอุปกรณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย และเวชภัณฑ์สำหรับการปฐมพยาบาล | |
11.จัดให้มีสถานที่และอุปกรณ์เพื่อคุ้มครองความปลอดภัย ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ได้แก่ ที่ล้างตาและฝักบัวชำระล้างร่างกาย, ที่ล้างมือและล้างหน้า, ห้องอาบน้ำ, อุปกรณ์และเวชภัณฑ์สำหรับการปฐมพยาบาล, อุปกรณ์ดับเพลิง, ชุดทำงานเฉพาะและที่เก็บชุดทำงานที่ใช้แล้ว | 1.จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ได้แก่ ที่ล้าง,ที่ล้างมือและล้างหน้า, ห้องอาบน้ำ เป็นต้น 2. ที่เก็บชุดทำงานที่ใช้แล้ว ชุดทำงานเฉพาะ และอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมกับสารเคมี 3.จัดให้มีอุปกรณ์ และเวชภัณฑ์สำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น | |
12.ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะอันตรายและ ความรุนแรงของสารเคมีอันตราย หรือลักษณะของงาน ให้ลูกจ้างใช้หรือสวมใส่เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจจะเกิดแก่ชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง | 1.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดไว้ 2.จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ตามลักษณะอันตรายและความรุนแรงของสารเคมีอันตราย ให้เพียงพอกับลูกจ้างทุกคน | |
13.จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้ลูกจ้างใช้ และให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ส่วนบุคคลนั้นๆ กรณีที่ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่ ให้นายจ้างสั่งลูกจ้างหยุดการทำงานทันที | 1.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 2.จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมและปลอดภัยให้ลูกจ้างสวมใส่ 3..กรณีที่ลูกจ้างไม่ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ให้นายจ้างสั่งลูกจ้างหยุดการทำงานทันที | |
14.นายจ้างต้องดูแลสถานที่ทำงาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายและตรวจสอบอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยที่จัดไว้ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยตลอดเวลา | 1.บริเวณพื้นที่ทำงาน ต้องถูกสุขลักษณะ สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีวัสดุเกะกะกีดขวางทางเดิน 2.ตรวจสอบอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัยตลอดเวลา | |
15.ห้ามเข้าพักอาศัย หรือพักผ่อนในสถานที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บ หรือในยานพาหนะขนส่งสารเคมีอันตราย | 1.ห้ามเข้าพักอาศัย หรือพักผ่อนในสถานที่ทำงาน หรือในยานพาหนะขนส่งสารเคมีอันตราย 2.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง | |
16.กรณีที่มีการร้องเรียนหรือมีปัญหาด้านความไม่ปลอดภัย ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขให้เกิดความปลอดภัยโดยไม่ชักช้า | 1.ตรวจสอบข้อเท็จจริง 2.ตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย ในบรรยากาศบริเวณสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บสารเคมีอันตราย 3.กำหนดมาตรการจัดการแก้ไขผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสุขภาพอนามัย | |
หมวด 4 การเก็บรักษา การบรรจุ และการถ่ายเทสารเคมีอันตราย | ||
17.สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายให้มีสภาพและคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ (1) ทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 60 นาที กรณีตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง ตัวเพิ่มออกซิเจน หรือไวไฟต้องทนไฟได้ไม่น้อยกว่า 180 นาที หรือไม่น้อยกว่า 90 นาทีหากมีระบบน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (2) มีพื้นเรียบสามารถรับน้ำหนักได้ และไม่ดูดซับสารเคมีอันตราย มิให้มีขยะ เศษวัสดุหรือสิ่งที่เป็นเชื้อเพลิง (3) มีระยะห่างจากอาคารที่ลูกจ้างทำงานในระยะที่ปลอดภัย (4) มีทางเดินภายในและภายนอกกว้างเพียงพอที่จะนำเครื่องมือและอุปกรณ์ดับเพลิงมาใช้ได้อย่างสะดวก (5) มีทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 2 ทาง ใช้ประตูทนไฟชนิดเปิดออกสู่ภายนอก ปิดกุญแจห้องทุกครั้งเมื่อไม่ทำงาน (6) มีระบบระบายอากาศที่เหมาะสม (7) มีการป้องกันสาเหตุที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัย (8) จัดทำเขื่อน กำแพง ทำนบ ผนัง เพื่อกักมิให้สารเคมีอันตรายที่เป็นของเหลว ไหลออกภายนอก (9) จัดทำรั้วล้อมรอบสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายที่อยู่นอกอาคาร (10) มีป้ายข้อความ “สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้า (11) มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตรายของสารเคมีอันตราย (12) มีแผนผังแสดงที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ผจญเพลิง อุปกรณ์ที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน | 1.เก็บรักษาสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานการเก็บรักษาที่อธิบดีประกาศกำหนด 2.พื้นที่ทำงานต้องปลอดภัยและมีสภาพพร้อมทำงาน 3.มีมาตรการป้องกันควบคุมสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย 4.ระมัดระวังมิให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายชำรุดหรือพังทลาย 5.มีป้ายข้อความ “สถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้าและมีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตรายของสารเคมีอันตราย 6.มีแผนผังแสดงที่ตั้งของอุปกรณ์ดับเพลิง อุปกรณ์ผจญเพลิง อุปกรณ์ที่ใช้ในกรณีฉุกเฉิน | |
18.ให้มีมาตรการป้องกันอันตรายและมาตรการเบื้องต้นในการแก้ไขเยียวยาอันตรายที่เกิดขึ้น | 1.กำหนดมาตรการป้องกันอันตรายรวมทั้งมาตรการแก้ไขเยียวยา อุบัติเหตุ อันตรายและควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 2.จัดอบรมให้ความรู้การทำงานที่ถูกต้องและปลอดภัย และซ้อมการเกิดเหตุฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น บรรเทาเหตุ และแจ้งให้หัวหน้างานทราบทันที | |
19.ให้เก็บรักษาสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานที่อธิบดีกำหนด โดยจัดทำบัญชีรายชื่อ ปริมาณที่จัดเก็บอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ระมัดระวังมิให้หีบห่อบรรจุชำรุด และมีมาตรการป้องกันความเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากการขุดเจาะ หรือเครื่องหมายแสดงตำแหน่งจัดเก็บกรณีที่เก็บไว้ใต้ดิน | 1.เก็บรักษาสารเคมีอันตรายตามมาตรฐานการเก็บรักษาที่อธิบดีประกาศกำหนด 2.จัดทำบัญชีรายชื่อ ปริมาณสารเคมีอันตรายทุกชนิดที่จัดเก็บในสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตรายแต่ละแห่งอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง 3.มีมาตรการป้องกันความเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากการขุดเจาะ หรือมีเครื่องหมายแสดงตำแหน่งจัดเก็บให้เห็นชัดเจนในกรณีที่เก็บสารเคมีอันตรายไว้ใต้ดิน 4.ระมัดระวังมิให้หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายชำรุดหรือพังทลาย | |
20.หีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ต้องแข็งแรง มีอุปกรณ์นิรภัยระบายความดัน ตรวจสอบ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ บรรจุไม่เกินพิกัดที่กำหนด มีมาตรการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดชน หรือกระแทก และควบคุมดูแลหีบห่อ มิให้เปิดทิ้งไว้เว้นแต่เพื่อการตรวจสอบหรือใช้ประโยชน์ | 1.ใช้วัสดุที่แข็งแรง ไม่ชำรุด ผุ กร่อน และสามารถเคลื่อนย้ายหรือขนส่งได้ด้วยความปลอดภัย 2.ตรวจสอบ และบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัยตลอดเวลา 3.มีมาตรการป้องกันไม่ให้ยานพาหนะหรือสิ่งอื่นใดชน หรือกระแทกหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มที่มีสารเคมีอันตรายบรรจุอยู่ 4.ควบคุมดูแลหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มที่มีสารเคมีอันตรายบรรจุมิให้เปิดทิ้งไว้ เว้นแต่เพื่อการตรวจสอบหรือใช้ประโยชน์ | |
21.การบรรจุสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องห่างจากแหล่งความร้อนและแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟในระยะที่ปลอดภัย | 1.การบรรจุสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องห่างจากแหล่งความร้อน และแหล่งที่ก่อให้เกิดประกายไฟในระยะที่ปลอดภัย 2.การบรรจุสารเคมีอันตรายต้องปิดฉลากทุกครั้ง | |
22.การถ่ายเทสารเคมีอันตราย ต้องติดชื่อและสัญลักษณ์ความปลอดภัยบนภาชนะที่บรรจุใหม่ด้วย | 1.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง 2.ติดชื่อและสัญลักษณ์ความปลอดภัยบนภาชนะที่บรรจุใหม่ด้วยทุกครั้ง | |
23. เก็บหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายที่ใช้แล้วในที่ปลอดภัยและเหมาะสม | 1.ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์และจัดเก็บภาชนะบรรจุสารเคมีไว้ในที่ปลอดภัยและเหมาะสม 2.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง | |
24.ในการขนถ่าย เคลื่อนย้าย หรือขนส่งสารเคมีอันตราย ให้มีมาตรการป้องกันการฟุ้งกระจาย เครื่องดับเพลิงชนิดเคลื่อนย้ายได้ ไม่บรรทุกสารเคมีอันตรายที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันไว้รวมกัน ตรวจสอบความพร้อมของยานพาหนะและผู้ขับขี่ จัดให้มีคู่มือหรือข้อปฏิบัติในการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินเป็นภาษาไทยและฝึกอบรมและฝึกซ้อมอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และห้ามบรรทุกสารเคมีที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันไว้รวมกันในยานพาหนะ | 1.มีมาตรการป้องกันการฟุ้งกระจายรวม ทั้งการกระเด็น หก ล้น รั่ว ไหล ของสารเคมีอันตราย 2.จัดให้มีคู่มือการทำงานที่ปลอดภัย หรือข้อปฏิบัติในการแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัยพร้อมที่จะนำไปใช้ได้ทันที 3.จัดให้มีการฝึกอบรมและฝึกซ้อมวิธีการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินแก่ลูกจ้างอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และบันทึกไว้เป็นหนังสือ | |
25.ในการส่งโดยใช้ท่อ ให้ใช้ท่อและข้อต่อที่แข็งแรง ตรวจสอบให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ ติดตั้งในลักษณะที่มีการป้องกันการกระแทก ท่อใต้ดินหรือใต้น้ำต้องทนทานต่อการกัดกร่อนและมีเครื่องหมายแสดงตำแหน่งท่อตลอดแนว ใช้ท่อที่มีสีต่างกันสำหรับสารเคมีแต่ละชนิด มีฉนวนกันความร้อนหุ้มท่อสำหรับสารเคมีที่เกิดความร้อน และวางท่อส่งให้มีระยะห่างที่ปลอดภัยและให้ต่อสายดินที่ท่อนั้นด้วย | 1.ในการส่งสารเคมีอันตรายโดยใช้ท่อ ต้องปฏิบัติดังนี้ - ใช้ท่อและข้อต่อที่แข็งแรง ไม่ชำรุด ผุ กร่อน หรือรั่ว 2.ตรวจสอบและบำรุงรักษาท่อและข้อต่อที่ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ตลอดเวลา 3.ติดตั้งหรือวางท่อในมีการป้องกันที่ไม่ทำให้เกิดการชำรุดเสียหายอันเนื่องจากการชน การทับ หรือการกระแทก 4.การวางท่อใต้ดินหรือใต้น้ำ ต้องใช้ท่อหรือข้อต่อประเภทที่ทนทานและต้องมีเครื่องหมายแสดงตำแหน่งของท่อให้เห็นได้โดยชัดเจน 5.การส่งสารเคมีอันตรายต่างชนิดกัน ต้องใช้ท่อที่มีสีหรือทาสีต่างกัน และทำเครื่องหมายให้เห็นได้ชัดเจนและต้องมีฉนวนหุ้มไว้ด้วย 6.การส่งสารเคมีอันตรายที่มีคุณสมบัติไวไฟหรือระเบิดได้ ต้องวางท่อส่งให้มีระยะห่างจากแหล่งความร้อน | |
26.การทำความสะอาดหรือกำจัดสารที่หกรั่วไหล ให้ทำตามที่ข้อมูลความปลอดภัยของสารแต่ละชนิดที่กำหนด ส่วนการกำจัดอาจใช้การเผา ฝัง หรือใช้สารเคมี ตามหลักวิชาการและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง | 1.ทำความสะอาดสารเคมีอันตราย ตามที่ข้อมูลความปลอดภัยของสารแต่ละชนิดที่กำหนด 2.บริเวณพื้นที่ทำงาน ต้องถูกสุขลักษณะ สะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีวัสดุเกะกะกีดขวางทางเดิน 3.การกำจัดอาจใช้การเผา ฝัง หรือใช้สารเคมี ตามหลักวิชาการและตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง | |
27.ภาชนะบรรจุที่ใช้แล้ว ต้องไม่ใช้บรรจุสิ่งของอื่น โดยเก็บรวบรวมไว้ในที่ปลอดภัยและกำจัดโดยวิธีที่เหมาะสม | 1.ห้ามนำภาชนะบรรจุสารเคมีที่ใช้แล้วมาใช้ประโยชน์และจัดเก็บภาชนะบรรจุสารเคมีไว้ในที่ปลอดภัยและเหมาะสม 2.กำหนดมาตรการความปลอดภัย และควบคุมลูกจ้างให้ปฏิบัติตามวิธีการทำงานที่ถูกต้อง | |
28.มีระบบป้องกันและควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษา | 1.กำหนดมาตรการควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย 2.กำหนดมาตรการแก้ไขผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสุขภาพอนามัย | |
29.ตรวจวัดและวิเคราะห์ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในสถานที่ทำงานและสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย และส่งรายงานผลการตรวจวัดภายใน 15 วัน | 1.กำหนดมาตรการควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย 2.กำหนดมาตรการแก้ไขผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสุขภาพอนามัย 3.ทำการตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายในของสถานที่ทำงาน และสถานที่เก็บรักษาสารเคมีอันตราย และส่งรายงานผล การตรวจวัดให้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจวัด | |
30.ในกรณีที่ระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตรายเกินขีดจำกัด ให้ใช้มาตรการกำจัดหรือควบคุมทางวิศวกรรมและการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม และต้องมีมาตรการป้องกันอันตรายส่วนบุคคลด้วยวิธีการที่เหมาะสม | 1.กำหนดมาตรการควบคุมระดับความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย 2.กำหนดมาตรการแก้ไขผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน และสุขภาพอนามัย 3.จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่เหมาะสมและปลอดภัยให้ลูกจ้างสวมใส่ | |
31.ให้มีการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้าง และทำรายงานการประเมินและจัดส่งแก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการประเมิน | 1.ประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของลูกจ้างในกรณีที่มีการใช้สารเคมีอันตราย 2.จัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 4.ทำรายงานการประเมินและจัดส่งแก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการประเมิน | |
32.ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครองตามรายชื่อและปริมาณที่กำหนด ประเมินความเสี่ยงและจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยงอย่างน้อย 5 ปีต่อ 1 ครั้ง | 1.สำรวจจำนวนสารเคมีอันตรายที่ครอบครองและปริมาณที่กำหนด 2.ประเมินความเสี่ยงและจัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง 3.กำหนดแผนแก้ไขและควบคุมความเสี่ยง | |
33.ให้นายจ้างจัดทำแผนปฏิบัติการกรณีมีเหตุฉุกเฉินของสถานประกอบกิจการและเก็บแผนไว้ ณ สถานประกอบกิจการและฝึกซ้อมตามแผนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | 1.กำหนดมาตรการแผนป้องกันอันตรายเหตุฉุกเฉินและเก็บแผนไว้ ณ สถานประกอบกิจการ 2.ทำการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุม และระงับเหตุอันตราย 3.ทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | |
34.ฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุมและระงับเหตุตามที่อธิบดีกำหนด และฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | 1.ทำการฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุม และระงับเหตุอันตรายตาม หลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด 2.ทำการฝึกอบรมทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3.เก็บหลักฐานการฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ | |
35.ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินสารเคมี ต้องหยุดทำงานทันที และออกไปให้พ้นรัศมีอันตราย พร้อมทั้งตรวจสอบและระงับเหตุทันที และกรณีที่อาจส่งผลกระทบต่อประชาชน ให้ทำการเตือนอันตรายให้ประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบทราบทันที | 1.กำหนดมาตรการแผนป้องกันอันตรายเหตุฉุกเฉิน 2.ทำการฝึกอบรมลูกจ้างกำหนดแผนป้องกันอันตรายเหตุฉุกเฉินและฝึกอบรมลูกจ้างที่มีหน้าที่ควบคุม และระงับเหตุอันตราย 3.ติดสัญญาณ และหอกระจายข่าวแจ้งเหตุฉุกเฉิน | |
36. ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายอยู่ในครอบครองก่อนวันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 จัดทำบัญชีรายชื่อและรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย แจ้งต่ออธิบดีภายใน 7 วันนับแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2556 | 1.ตรวจสอบสารเคมีอันตรายที่ครอบครอง 2.จัดทำบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตราย และรายละเอียดข้อมูลความปลอดภัย สารเคมีอันตรายที่ครอบครอง แจ้งต่ออธิบดี ภายใน 7 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ |