สาระสำคัญของกฎหมาย | แนวทางปฏิบัติ | เอกสาร ตามกฎหมาย |
ข้อ 3 จัดทำข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า | 1.สำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทั้งหมด 2.จัดทำทะเบียนรายการพื้นที่สภาวะการทำงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้า 3.จัดทำคู่มือ,ข้อบังคับเกี่ยวกับการการปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 4.ฝึกอบบรม เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม | |
ข้อ 4 จัดอบรมลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับกับไฟฟ้าให้มีความรู้และทักษะในการทำงานอย่างปลอดภัย | 1.จัดหาวิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 2.จัดการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 3.มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละหกสิบ 4.ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม |
|
ข้อ 5 จัดให้มีและเก็บรักษาแผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งในสถานประกอบกิจการทั้งหมดที่วิศวกรหรือการไฟฟ้าประจำท้องถิ่นรับรองไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ หากเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมต้องแก้ไขแผนผังนั้นให้ถูกต้อง | 1.ตรวจสอบระบบวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของสถานประกอบกิจการ 2.เปรียบเทียบแผนผังวงจรไฟฟ้า และปรับปรุงให้สอดคล้องถูกต้อง 3.ตรวจสอบและรับรองจากวิศวกรหรือการไฟฟ้าประจำท้องถิ่น |
|
ข้อ 6 จัดให้มีแผ่นป้ายที่มีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนให้ระวังอันตรายจากไฟฟ้าติดไว้ในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า | 1.สำรวจบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 2.จัดทำข้อมูลบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า3.จัดทำแผ่นป้ายที่มีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนให้ระวังอันตรายจากไฟฟ้า 4.ติดตั้งไว้โดยเปิดเผยมองเห็นได้ชัดเจนบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า |
|
ข้อ 7 ห้ามให้ลูกจ้างที่ปฏิบัติเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้าใกล้หรือนำสิ่งที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีฉนวนหุ้ม เข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าในระยะห่างที่น้อยกว่าที่มาตรฐานสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยกำหนด เว้นแต่ได้ดำเนินการเพื่อความปลอดภัย | 1.สำรวจบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 2.จัดทำข้อมูลบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า 3.จัดอบรมความปลอดภัยลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 4.จัดทำพื้นที่กั้นแยกระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 5.จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะงาน 6.จัดให้มีวิศวกรควบคุมการ ปฏิบัติงานของลูกจ้าง |
|
ข้อ 8 ห้ามให้ผู้ที่ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าในระยะห่างที่น้อยกว่าที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยกำหนด | 1.สำรวจบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 2.จัดทำข้อมูลบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า 3.จัดอบรมความปลอดภัยลูกจ้างผู้ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า 4.จัดทำพื้นที่กั้นแยกระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย |
|
ข้อ 9 ดูแลไม่ให้ลูกจ้างสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เปียกหรือเป็นสื่อนำไฟฟ้าทำงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันเกิน 50 โวลต์ เว้นแต่จะได้สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสม | 1.จัดอบรมความปลอดภัยลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 2.จัดทำพื้นที่กั้นแยกระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย 3.กำหนดมาตรการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ลูกจ้างตามลักษณะงาน |
|
ข้อ 10 ให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าหรือในบริเวณใกล้เคียงกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า ต้องจัดให้มีอุปกรณ์ที่เป็นฉนวนไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าให้แก่ลูกจ้าง | 1.จัดอบรมความปลอดภัยลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า 2.จัดให้มีอุปกรณ์ชนิดที่เป็นฉนวนไฟฟ้า หรือหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงาน |
|
ข้อ 11 ดูแลบริภัณฑ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย หากชำรุด หรืออาจก่อให้เกิดอันตราย ให้ซ่อมแซม ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย และจัดให้มีหลักฐานในการดำเนินการ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ | 1.สำรวจบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 2.จัดทำข้อมูลบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า 3.หากพบว่าอาจก่อให้เกิดอันตราย ให้ซ่อมแซมหรือดำเนินการให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย 4.จัดทำเอกสารหลักฐานในการดำเนินการ เพื่อไว้ตรวจสอบได้ |
|
ข้อ 12 จัดให้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 เป็นผู้บันทึกผลการตรวจสอบและรับรอง เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ | 1.สำรวจและจัดทำทะเบียนระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า 2.กำเนิดการตรวจสอบและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า 3.จัดทำบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ โดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียน | บันทึกผลการตรวจสอบและรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.PDF |
ข้อ 13 จัดให้มีแผ่นภาพพร้อมคำบรรยายวิธีปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน ติดไว้บริเวณที่ทำงานที่ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน | 1.สำรวจสถานที่ทำงานที่อาจเกิดการประสบอันตรายจากไฟฟ้า 2.จัดทำคำบรรยายวิธีปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า และการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน 3.ติดไว้ในบริเวณที่ทำงานที่ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน |
|
ข้อ 14 การติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้าต้องปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยกำหนด หากยังไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจำท้องถิ่นกำหนด | 1.สำรวจการใช้งานบริภัณฑ์ไฟฟ้าทั้งหมด 2.ออกแบบติดตั้งให้ไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย |
|
ข้อ 15 ต้องจัดให้มีกุญแจหรือระบบการป้องกันมิให้มีการสับสวิตซ์เชื่อมวงจร ตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า ติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าและให้ติดป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ด้วย | 1.สำรวจการใช้งานบริภัณฑ์ไฟฟ้าทั้งหมด 2.จัดทำแผนงานโครงการจัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจร และป้ายแสดงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ 3.ดำเนินการตามแผนหัวข้อที่ 2 |
|
ข้อ 16 ห้ามให้ลูกจ้างทำความสะอาดบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้า เว้นแต่มีมาตรการด้านความปลอดภัยรอบรองไว้ครบถ้วน | 1.จัดการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้า |
|
ข้อ 17 จัดให้มีที่ปิดกั้นอันตรายหรือแผ่นฉนวนไฟฟ้าปูไว้ที่พื้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัสบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันเกินกว่า 50 โวลต์ | 1.สำรวจการใช้งานบริภัณฑ์ไฟฟ้าทั้งหมดที่เกินกว่าห้าสิบโวลต์ 2.หากไม่ปลอดภัยให้ดำเนินการมีที่ปิดกั้นอันตรายหรือจัดให้มีแผ่นฉนวนไฟฟ้าปูไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัส |
|
ข้อ 18 ต้องติดตั้งเต้ารับ สายไฟฟ้า อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินที่เหมาะสม ตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หากยังไม่มีมาตรฐานดังกล่าวให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจำท้องถิ่นกำหนด | 1.สำรวจการติดตั้งเต้ารับ สายไฟฟ้า อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน 2.ออกแบบติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ |
|
ข้อ 19 การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ให้ปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ | 1.สำรวจพื้นที่การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2.ออกแบบติดตั้งให้สมารถปฏิบัติงานได้อย่างสะดวก, มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ, ต่อท่อไอเสียออกสู่ภายนอก 3.มีอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน,อุปกรณ์ดับเพลิง,เครื่องป้องกันการใช้ผิด หรือสวิตช์สับโยกสองทาง |
|
ข้อ 20 จัดให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่าตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือมาตรที่ที่กำหนดไว้ที่สถานประกอบกิจการ อาคาร ปล่องควัน และบริเวณที่มีถังเก็บของเหลวไวไฟหรือก๊าซไวไฟ | 1.สำรวจพื้นที่และการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า 2.ออกแบบติดตั้งให้ไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย หรือมาตรฐานที่กำหนด |
|
ข้อ 21 จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะงานให้ลูกจ้างใส่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงาน และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายจากไฟฟ้าที่เหมาะสมกับลักษณะงาน ในกรณีที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติงานในที่สูงกว่าพื้นตั้งแต่สี่เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้สายหรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์ที่ป้องกันการตกจากที่สูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ | 1.สำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะการทำงาน 2.จัดทำทะเบียนอุปกรณ์คุ้มครองความ ปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะงาน 3.จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะงาน 4.กำหนดระเบียบข้อบังคับให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดระยะเวลาการทำงาน |
|
ข้อ 22 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้และต้องมีคุณสมบัติดังที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ | 1.สำรวจอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 2.จัดทำทะเบียนอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามลักษณะงาน 3.จัดให้มีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าตามมาตรฐานที่กำหนด |
|
ข้อ 23 การปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่อยู่ใกล้หรือเหนือน้ำ ต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ชูชีพกันจมน้ำ เว้นแต่การดังกล่าวจะทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายมากกว่าเดิม ให้นายจ้างใช้วิธีอื่นเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแทน | 1.สำรวจพื้นที่สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสภาวะการทำงาน 2.สำรวจอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (ชูชีพกันจมน้ำ) 3.กำหนดระเบียบข้อบังคับให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดระยะเวลาการทำงาน หรือวิธีการอื่นที่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแทน |
|
ข้อ 24 ต้องบำรุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้สามารถใช้งานได้อย่างปลอดภัย | 1.สำรวจอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า 2.บำรุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานและวิธีที่ผู้ผลิตกำหนด 3.จัดทำบันทึกผลการบำรุงรักษา |
|
ข้อ 25 ให้วิศวกรตามคำนิยาม “วิศวกร” ในกฎกระทรวงนี้ เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองการดำเนินการตามข้อ 12 จนกว่าจะได้มีบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลได้รับใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี | 1.ปฏิบัติตามสาระสำคัญของกฎหมาย
|
|