สาระของกฎหมาย | แนวทางปฏิบัติ | เอกสาร ตามกฎหมาย |
ข้อ 1 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มี (1) น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างไม่เกินสี่สิบคน และเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนหนึ่งที่สำหรับลูกจ้างทุก ๆ สี่สิบคน เศษของสี่สิบคนถ้าเกินยี่สิบคนให้ถือเป็นสี่สิบคน (2) ห้องน้ำและห้องส้วมตามแบบและจำนวนที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและมีการดูแลรักษาความสะอาดให้อยู่ในสภาพที่ถูกสุขลักษณะเป็นประจำทุกวัน ให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมแยกสำหรับลูกจ้างชายและลูกจ้างหญิงและในกรณีที่มีลูกจ้างที่เป็นคนพิการให้นายจ้างจัดให้มีห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับคนพิการแยกไว้โดยเฉพาะ | 1.สำรวจหน่วยงานและจำนวนพนักงานแต่ละแผนกในสถานประกอบกิจการ 2.จัดหาเครื่องทำน้ำเย็นและน้ำสะอาดตามที่กำหนด 3. จัดทำหรือจัดหาห้องน้ำ ตามมาตรฐานที่กำหนด 4.สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานพิการต้องจัดทำหรือจัดหาให้แยกต่างหาก | |
ข้อ 2 ในสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ให้นายจ้างจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการปฐมพยาบาลและการักษาพยาบาล ดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป ต้องจัดให้มีเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลในจำนวนที่เพียงพออย่างน้อยตามรายการดังต่อไปนี้(ก) กรรไกร (ข) แก้วยาน้ำ และแก้วยาเม็ด (ค) เข็มกลัด (ง) ถ้วยน้ำ (จ) ที่ป้ายยา (ฉ) ปรอทวัดไข้ (ช) ปากคีบปลายทู่ (ซ) ผ้าพันยืด (ฌ) ผ้าสามเหลี่ยม (ญ) สายยางรัดห้ามเลือด (ฎ) สำลี ผ้าก๊อซ ผ้าพันแผล และผ้ายางปลาสเตอร์ปิดแผล (ฏ) หลอดหยดยา (ฐ) ขี้ผึ้งแก้ปวดบวม (ฑ) ทิงเจอร์ไอโอดีนหรือโพวิโดน – ไอโอดีน (ฒ) น้ำยาโพวิโดน – ไอโอดีน ชนิดฟอกแผล (ณ) ผงน้ำตาลเกลือแร่ (ด) ยาแก้ผดผื่นที่ไม่ได้มาจากการติดเชื้อ (ต) ยาแก้แพ้ (ถ) ยาทาแก้ผดผื่นคัน (ท) ยาธาตุน้ำแดง (ธ) ยาบรรเทาปวดลดไข้ (น) ยารักษาแผลน้ำร้อนลวก (บ) ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (ป) เหล้าแอมโมเนียหอม (ผ) แอลกอฮอล์เช็ดแผล (ฝ) ขี้ผึ้งป้ายตา (พ) ถ้วยล้างตา (ฟ) น้ำกรดบอริคล้างตา (ภ) ยาหยอดตา (2) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่สองร้อยคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี (ก)เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม (1) (ข)ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยหนึ่งเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไว้เป็นประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสามครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหกชั่วโมงในเวลาทำงาน (3) สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่หนึ่งพันคนขึ้นไป ต้องจัดให้มี (ก) เวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม (1) (ข) ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยสองเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) ตามความจำเป็นและเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลเบื้องต้น (ค) พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปไวประจำอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน (ง) แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนเพื่อตรวจรักษาพยาบาลไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสามครั้งและเมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละสิบสองชั่วโมงในเวลาทำงาน (จ) ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาลเพื่อให้การรักษาพยาบาลได้โดยพลัน | จัดหาเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาล 1.สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป - ต้องจัดให้มียาและเวชภัณฑ์ ตาม (ก) ถึง (ภ) 2.สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 200 คน ขึ้นไป - ต้องจัดให้มียาและเวชภัณฑ์ ตามข้อ 1 และจัดหา - ห้องพยาบาลพร้อมเตียงอย่างน้อย 1 ห้อง -พยาบาลระดับเทคนิคขึ้นไป จำนวน 1 คน -แพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1จำนวน 1 คน 3.สถานประกอบกิจการที่มีพนักงานทำงานในขณะเดียวกันตั้งแต่ 1000 คน ขึ้นไป -จัดหาเวชภัณฑ์และยาเพื่อใช้ในการปฐมพยาบาลตาม (1) -ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้อย่างน้อยสองเตียง เวชภัณฑ์และยานอกจากที่ระบุไว้ใน (1) -พยาบาลตั้งแต่ระดับพยาบาลเทคนิคขึ้นไปอย่างน้อยสองคนตลอดเวลาทำงาน -แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคน -ยานพาหนะซึ่งพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาล | |
ข้อ 3 นายจ้างอาจทำความตกลงเพื่อส่งลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่เปิดบริการตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมงและเป็นสถานพยาบาลที่นายจ้างอาจนำลูกจ้างส่งเข้ารับการรักษาพยาบาลได้โดยสะดวกและรวดเร็ว แทนการจัดให้มีแพทย์ตามข้อ 2 (2) หรือข้อ 2 (3) ได้โดยต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย | หากสถานประกอบกิจการไม่จัดหาแพทย์ตามที่ระบุใน ข้อ 2 (2) และ 2 (3) สถานประกอบกิจการอาจทำ MOU กับโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้เคียงที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อส่งพนักงานเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย |