แนวทางนำไปปฏิบัติ

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานประดาน้ำ พ.ศ. 2548

 

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสารตามกฎหมาย

ข้อ 3 นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ณ สถานที่ใด หรือเปลี่ยนสถานที่การทำงาน ประดาน้ำต้องแจ้งสถานที่นั้นให้ อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบล่วงหน้าก่อนการทำงาน  ไม่น้อยกว่า 7 วัน ตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด


1.สำรวจบริเวณที่ปฏิบัติงานประดาน้ำ เช่น เลขที่ที่ตั้ง ละติจูด ลองติจูด แป็นต้น

2.จัดทำแบบแจ้งสถานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประดาน้ำตามที่กฎหมายกำหนด

3.จัดทำจดหมายแจ้งสำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่

4.จัดส่งเอกสารตาม ข้อ 1-2 ถึงสำนักความปลอดภัยแรงงานในพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน   

แบบแจ้งสถานที่การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ.pdf

ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้ ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ ได้รับการตรวจสุขภาพตามกำหนดระยะเวลา และจัดทำบัตรตรวจสุขภาพลูกจ้างไว้ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด

1.ประสานงานกับโรงพยาบาลที่จะนำลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับประดาน้ำเข้าตรวจสุขภาพ

2.นำพนักงานไปตรวจสุขภาพตามที่กำหนด

3. จัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างประดาน้ำ


ข้อ 5 ลูกจ้างซึ่งนายจ้างจะให้ ทำงานประดาน้ำต้อง

(1) มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์

  • (2) มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง และไม่เป็นโรคตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

(3) มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในงานประดาน้ำโดยต้องผ่านการทดสอบตาม หลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด

จัดหานักประดาน้ำที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีประกาศกำหนด










ข้อ 6 ลูกจ้างซึ่งนายจ้างให้ทำงานประดาน้ำต้องปฏิบัติหน้าที่ดังต่อไปนี้

 (1) หัวหน้านักประดาน้ำ

(ก) วางแผนการทำงานและควบคุมการดำน้ำตลอดจนการวางแผนการติดต่อสื่อสาร ระหว่างลูกจ้างผู้ทำงานใต้น้ำกับลูกจ้างผู้ทำงานบนผิวน้ำ

(ข) วางแผนการป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดข้นจากงานประดาน้ำ

(ค) ชี้แจงและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของนักประดาน้ำ ลูกจ้าง ลูกจ้างผู้ทำงานแต่ละคน ตามแผนการทำงานแต่ละครั้ง ตลอดถึงวิธีการทำงานประดาน้ำ การป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้น จากงานประดาน้ำ และดูแลให้นักประดาน้ำทุกคนตรวจตราเครื่องมือ และอุปกรณ์การดำน้ำที่จะใช้ในการทำงานให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะทำงานประดาน้ำ

(ง) ตรวจสอบความพร้อมของนักประดาน้ำ เครื่องมือและอุปกรณ์การดำน้ำก่อนทำงาน ประดาน้ำ และปริมาณอากาศในขวดอากาศดำน้ำก่อนและหลังการทำงานประดาน้ำ

(จ) ควบคุมเวลาในการทำงานใต้น้ำ ตั้งแต่เวลาเริ่มดำน้ำ เวลาในการทำงานใต้น้ำ เวลาที่กลับขึ้นสู่ผิวน้ำ เวลาที่ต้องพักในระดับความลึกต่าง ๆ และเวลาพักก่อนลงไปทำงานใต้น้ำครั้งต่อไป รวมทั้งระยะเวลาการดำครั้งต่อไป

(ฉ) อยู่สั่งการและควบคุมตลอดเวลาที่มี

เมื่อได้ทีมนักประดาน้ำแล้วให้

มอบหมายหน้าที่ ประกอบด้วย

1. หน้าที่ของหัวหน้าทีม

- วางแผนการทำงาน

- จัดทำแผนป้องกันอันตราย

- จัดทำแผนฉุกเฉิน

- ชี้แจ้งให้นักประดาน้ำทราบขั้นตอนการทำงาน

- ตรวจสอบความพร้อมของนักประดาน้ำอุปกรณ์ ก่อนลงมือปฏิบัติงาน

- ควบคุมและสั่งการตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน

2. หน้าที่ของพี่เลี้ยงนักประดาน้ำ

- ศึกษาบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

และแผนการทำงาน แผนการป้องกันอันตรายและแผนกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

- บันทึกปริมาณอากาศที่อยู่ในขวดอากาศดำน้ำ ก่อนและหลังการทำงาน พร้อมทั้งรายงานให้หัวหน้าทีมทราบ

3. หน้าที่ของนักประดาน้ำ

- ศึกษาและปฏิบัติตามแผนงานที่วางไว้อย่างเคร่งครัด และตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องมือให้พร้อมใช้



การทำงานประดาน้ำ

(2) พี่เลี้ยงนักประดาน้ำ

(ก) ศึกษาและทำความเข้าใจแผนการทำงานที่ได้รับมอบหมายโดยตลอด

(ข) ซักซ้อมและทำความเข้าใจในแผนการทำงาน แผนการติดต่อสื่อสาร และแผนการ ป้องกันอันตรายอันอาจจะเกิดขึ้นกับนักประดาน้ำ

(ค) ตรวจสอบอุปกรณ์การดำน้ำ และช่วยแต่งชุดดำน้ำให้นักประดาน้ำและนักประดาน้ำ พร้อมดำ

(ง) บันทึกปริมาณอากาศที่อยู่ในขวดอากาศดำน้ำ ก่อนและหลังการดำน้ำ และรายงาน การบันทึกเวลาให้ หัวหน้านักประดาน้ำทราบทุกขั้นตอน

(3) นักประดาน้ำ

(ก) ศึกษาและทำความเข้าใจแผนการทำงานที่ได้รับมอบหมายโดยตลอด

(ข) ตรวจตราเครื่องมือและอุปกรณ์การดำน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ทำงานประดาน้ำ

(ค) ปฏิบัติตามแผนการทำงาน กฎเกณฑ์การดำน้ำ และมาตรการความปลอดภัย ในการดำน้ำโดยเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนการดำขึ้นโดยจะต้องพักในระดับความลึกต่าง ๆ ตามเวลาที่กำหนดไว้



ข้อ 7 ในการทำงานประดาน้ำนายจ้างต้องควบคุมให้ลูกจ้างปฏิบัติตามตารางมาตรฐานการ ดำน้ำและการลดความกดดัน ตลอดจนการพักเพื่อปรับสภาพร่างกายก่อนที่จะดำลงในครั้งต่อไป ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด

1. จัดทำตารางมาตรฐานการดำน้ำและการลดความดัน  

2. ควบคุมการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด                                          


ข้อ 8 นายจ้างต้องจัดให้มีลูกจ้าง พยาบาลเวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนดในตารางท้ายกฎกระทรวงนี้

ในการดำน้ำแต่ละครั้งต้องมีพยาบาลเวชศาสตร์ใต้น้ำ แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานประดาน้ำตามที่กำหนด


ข้อ 9 นายจ้างต้องจัดให้มีบริการการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และออกซิเจนหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์พร้อมหน้ากากช่วยหายใจ เพื่อช่วยเหลือนักประดาน้ำตลอดระยะเวลาที่มีการดำน้ำ

ก่อนทำงานประดาน้ำต้องเตรียมพร้อมหากเกิดเหตุฉุกเฉินต้องสามรถช่วยเหลือได้ทันที เช่น การปฐมพยาบาลเบื้องต้นออกซิเจน หน้ากากช่วยหายใจ


ข้อ 10 ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำอาจปฏิเสธการดำน้ำในคราวใดก็ได้ หากเห็นว่าการดำน้ำ คราวนั้นอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพอนามัยของตน

หากลูกจ้างประเมินแล้วว่าการดำน้ำอาจก่อให้เกิดอันตรายจากการดำน้ำ ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธไม่ทำงานได้


ข้อ 11 นายจ้างและหัวหน้านักประดาน้ำต้องสั่งให้ลูกจ้างหยุดหรือเลิกการดำน้ำในกรณี ต่อไปนี้

(1) เมื่อพี่เลี้ยงนักประดาน้ำและนักประดาน้ำไม่สามารถติดต่อสื่อสารกันได้

 (2) เมื่อนักประดาน้ำต้องใช้อากาศสํารองจากขวดอากาศ หรือขวดอากาศสํารอง

 (3) เมื่อนายจ้างหรือหัวหน้านักประดาน้ำพิจารณาแล้วเห็นว่าการดำน้ำในพื้นที่บริเวณนั้น ไม่ปลอดภัย

1.จัดทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

2. สั่งหยุดการปฏิบัติงานหากไม่สามารถติดต่อกันได้ระหว่างพี่เลี้ยงกับนักประดาน้ำ และเมื่อนักประดาน้ำต้องใช้ออกชิเจนจากขวดสำรอง และถ้าประเมินแล้วว่าพื้นที่ปฏิบัติงานไม่ปลอดภัย



ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์สำหรับการทำงานประดาน้ำดังต่อไปนี้

(1) เครื่องประดาน้ำประเภทขวดอากาศ (Scuba) ประกอบด้วยอุปกรณ์อย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(ก) ขวดอากาศ (Tank)

(ข) เข็มขัดน้ำหนัก (Weight belt)

(ค) เครื่องผ่อนกำลังดันอากาศ (Regulator)

(ง) เครื่องวัดความลึก (Depth gauge)

(จ) เครื่องวัดอากาศ (Pressure gauge)

(ฉ) ชุดดำน้ำ (Diving suit)

(ช) ชูชีพ (Life preserver or Buoyancy compensator)

(ซ) เชือกช่วยชีวิต (Life line)

(ฌ) ตีนกบ (Fins)

(ญ) นาฬิกาดำน้ำ (Submersible wrist watch)

 (ฎ) มีดดำน้ำ (Dive knife)

(ฏ) สายผ่อนอากาศสํารอง (Octopus)

 (ฐ) หน้ากาก (Mask)

(2) เครื่องประดาน้ำประเภทใช้อากาศจากผิวน้ำ (Surface supply) ประกอบด้วยอุปกรณ์อย่างน้อย ดังต่อไปนี้

(ก) ขวดอากาศสํารอง (Emergency gas supply)

 (ข) เครื่องอัดอากาศ (Compressure)

(ค) ชุดดำน้ำ (Diving suit)

(ง) ชุดสายรัดตัว (Harness)

(จ) ตะกั่วถ่วงหรือน้ำหนักถ่วง (Weight)

 (ฉ) ตีนกบหรือรองเท้า (Fins or Boots)

(ช) ตู้ควบคุมระบบการจ่ายอากาศและติดต่อสื่อสาร (Control console assembly)

 (ซ) ถังพักอากาศ (Air bank)

 (ฌ) มีดดําน้ำ (Dive knife)

 (ญ) สายอากาศ สายโทรศัพท์สายวัดความลึก และเชือกช่วยชีวิต (Umbilicals)

 (ฎ) หัวครอบดำน้ำหรือหน้ากากดำน้ำ (Helmet or Mask) อุปกรณ์สำหรับการทำงานประดาน้ำตามวรรคหนึ่งต้องได้ มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

จัดให้มีการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานประดาน้ำ


















ข้อ 13 นายจ้างต้องบำรุงรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานประดาน้ำตามที่ กำหนดในคู่มือของผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละชนิด


Calibrate และบำรุงรักษา ตรวจสอบ อุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในงานประดาน้ำ



I BUILT MY SITE FOR FREE USING