สาระสำคัญของกฎหมาย | แนวทางปฏิบัติ | เอกสารตาม กฎหมาย |
ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงโดยแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือที่ผ่านการอบรมด้านอาชีวเวชศาสตร์ | 1.จัดทำประวัติพนักงาน แต่ละแผนกและความเสี่ยงของการทำงาน 2.จัดหาแพทย์แผนปัจจุบัน 3.ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง โดยตรวจครั้งแรกให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทำงานและตรวจครั้งต่อไปอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง | |
ข้อ 4 ในกรณีที่ลูกงานหยุดงาน 3 วันติดต่อกันเนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย นายจ้างอาจขอความเห็นจากแพทย์ให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างก่อนให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานอีกก็ได้ | ให้ตรวจสุขภาพพนักงานที่ป่วยหรือประสบอันตรายจากการทำงาน ก่อนพนักงานกลับเข้ามาทำงาน | |
ข้อ 5 ในการตรวจสุขภาพลูกจ้างให้แพทย์ผู้ตรวจบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับผลการตรวจสุขภาพ โดยให้ระบุความเห็นของแพทย์เกี่ยวกับภาวะสุขภาพของลูกจ้างที่มีผลกระทบหรืออุปสรรคต่อการทำงาน พร้อมทั้งลงลายมือชื่อแพทย์ผู้ตรวจ | หากตรวจพบความผิดปกติต้องให้แพทย์บันทึกรายละเอียดและระบุผลกระทบหรืออุปสรรคต่อการทำงานของพนักงานและให้แพทย์ลงลายมือชื่อด้วย | |
ข้อ 6 ให้นายจ้างจัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวลูกจ้างตามแบบที่อธิบดีกำหนด และให้บันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างในสมุดสุขภาพประจำตัวลูกจ้างทุกครั้งที่มีการตรวจสุขภาพ | จัดให้มีสมุดสุขภาพประจำตัวและบันทึกผลการตรวจสุขภาพทุกครั้ง | สมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง สมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง.pdf |
ข้อ 7 ให้นายจ้างเก็บบันทึกผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ ณ ที่ทำการของนายจ้างไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างของลูกจ้างแต่ละราย เว้นแต่มีการฟ้องร้องให้เก็บไว้จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด | เก็บผลบันทึกการตรวจสุขภาพของพนักงานไว้ที่สถานประกอบกิจการ | สมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง สมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง.pdf |
ข้อ 8 (1) ในกรณีที่ผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างผิดปกติ ให้แจ้งแก่ลูกจ้างภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ทราบ ผลการตรวจ | หากผลการตรวจสุขภาพพนักงาน ให้แจ้งพนักงานที่มีสุขภาพผิดปกติภายใน 3 วันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ | |
ข้อ 8 (2) ในกรณีที่ผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างปกติ ให้แจ้งแก่ลูกจ้างภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ | หากผลการตรวจสุขภาพพนักงานผิดปกติ ให้แจ้งพนักงาน ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ | |
ข้อ 9 ในกรณีที่พบความผิดปกติของ หรือลูกจ้าง มีอาการหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีและทำการตรวจสอบหรือหาสาเหตุของความ ผิดปกติเพื่อประโยชน์ในการป้องกันส่งผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่พบว่าผิดปกติ พร้อมทั้งการให้การรักษาพยาบาลและการป้องกันแก้ไขต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบความผิดปกติ | 1.จัดหาแพทย์แผนปัจจุบัน หรือโรงพยาบาลที่บริษัททำ MOU ด้วย 2.นำพนักงานที่พบความผิดปกติไปตรวจทันที 3.ส่งผลตรวจสุขภาพที่ผิดปกติ ต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบความผิดปกติหรือเจ็บป่วย | |
ข้อ 10 ถ้าลูกจ้างคนใดมีหลักฐานทางการแพทย์จากสถานพยาบาลที่ทางราชการยอมรับว่าไม่อาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ให้นายจ้างเปลี่ยนงานให้ลูกจ้างโดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างเป็นสำคัญ | จัดให้มีการเปลี่ยนงานเมื่อมีหลักฐานว่าลูกจ้างอาจทำงานในหน้าที่เดิมได้ ตามที่เห็นสมควร | |
ข้อ 11 ให้นายจ้างมอบสมุดสุขภาพประจำตัวให้แก่ลูกจ้างเมื่อสิ้นสุดการจ้าง | มอบสมุดสุขภาพประจำตัวเมื่อสิ้นสุดการจ้าง | สมุดสุขภาพประจำตัว ของลูกจ้างที่ทำงานงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง สมุดสุขภาพประจำตัวของลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง.pdf |