แนวทางนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง

ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสารตามกฎหมาย

ข้อ 3 ในการฝึกอบรมตามข้อ ๒ ผู้จัดฝึกอบรมต้องดำเนินการ ดังนี้

(1) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตร

(2) จัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน

(3) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรม

(4) ออกหลักฐานแสดงการผ่านการฝึกอบรมให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรมในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยคำนึงถึงสภาพของงานและหน้าที่รับผิดชอบ

1.จัดทำแผนการฝึกอบรม

2.จัดหาวิทยากรที่มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนด

3.ดำเนินการฝึกอบรม

4.จัดทำทะเบียนผู้ผ่านการฝึกอบรม


 

ข้อ 4 ให้นายจ้างเก็บหลักฐานการฝึกอบรมตามข้อ 2 ได้แก่ ทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรม พร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทำการอบรมไว้ในสถานประกอบกิจการหรือสถานที่ที่ลูกจ้างทำงาน พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

เก็บหลักฐานการฝึกอบรม ได้แก่ ทะเบียนรายชื่อลูกจ้างซึ่งผ่านการอบรม วัน เวลา และสถานที่อบรมพร้อมลายมือชื่อของวิทยากรผู้ทำการอบรมไว้ พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้







ข้อ 5 หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับบริหาร ให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมง ประกอบด้วย ๓ หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(1) หมวดวิชาที่ 1 การบริหารงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

 (ก) การควบคุมความสูญเสยจากอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน

 (ข) บทบาทหน้าที่ของลูกจ้างระดับบริหารเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

 (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

 (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ

ทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(3) หมวดวิชาที่ 3 ระบบการจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

 (ก) แนวคิดการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 (ข) ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

 (ค) การประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการ

หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับบริหาร มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หมวดวิชา ตาม (1) ถึง (3)















ข้อ 6 หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสิบสองชั่วโมงประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ดังต่อไปนี้

(1) หมวดวิชาที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ

ทำงานและบทบาทหน้าที่ของหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

  • ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 (ข) บทบาทหน้าที่ของลูกจ้างระดับหัวหน้างานเกี่ยวกับความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(2) หมวดวิชาที่ 2 กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

 (ก) การบริหารกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของกระทรวงแรงงาน

 (ข) สาระสำคัญของกฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานและการนำกฎหมายไปสู่การปฏิบัติ

(3) หมวดวิชาที่ 3 การค้นหาอันตรายจากการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง

ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

 (ก) การตรวจความปลอดภัย

 (ข) การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย และการเฝ้าสังเกตงาน

 (ค) การสอบสวนและการรายงานอุบัติเหตุ

(4) หมวดวิชาที่ 4 การป้องกันและควบคุมอันตรายตามความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบกิจการ มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง โดยอาจประกอบด้วยหัวข้อวิชา

 (ก) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากเครื่องจักร

 (ข) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากไฟฟ้า

 (ค) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากการเคลื่อนย้ายและการจัดเก็บวัสดุ

 (ง) การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ

 (จ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

 (ฉ) การป้องกันและควบคุมอันตรายจากสารเคมี

 (ช) การป้องกันและควบคุมปัญหาด้านกายศาสตร์

 (ซ) การป้องกันและควบคุมอันตรายในงานก่อสร้าง

 (ฌ) การใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างานที่ผ่านการอบรมตามวรรคหนึ่งจากสถานประกอบกิจการเดิมแล้วให้ฝึกอบรมเฉพาะ (4) เท่านั้น

หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างระดับหัวหน้างาน มีระยะเวลาการฝึกอบรม 12 ชั่วโมง ประกอบด้วย 4 หมวดวิชา ตาม (1) ถึง (4)















ข้อ 7 หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและลูกจ้างเข้าทำงานใหม่ มีระยะเวลาการฝึกอบรมหกชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(1) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัย

อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรมหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที

(2) กฎหมายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที

(3) ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมงสำหรับลูกจ้างที่ผ่านการอบรมตามวรรคหนึ่งจากสถานประกอบกิจการเดิมแล้ว ให้ฝึกอบรมเฉพาะ (๓) เท่านั้น

หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างทั่วไปและพนักงานใหม่ มีระยะเวลาการฝึกอบรม 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หัวข้อวิชา ตาม (1) ถึง (3) แต่ถ้าลูกจ้างที่ผ่านการอบรมตามวรรคหนึ่งจากสถานประกอบกิจการเดิมแล้ว ให้ฝึกอบรมเฉพาะ (๓) เท่านั้น




ข้อ 8 หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงแตกต่างไปจากเดิม มีระยะเวลาการฝึกอบรมสามชั่วโมง ประกอบด้วยหัวข้อวิชา

(1) ปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรมหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที

(2) ข้อบังคับว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีระยะเวลาการฝึกอบรมหนึ่งชั่วโมงสามสิบนาที

หลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับลูกจ้างเปลี่ยนงาน สถานที่ทำงาน มีระยะเวลาการฝึกอบรม 3 ชั่วโมง ประกอบด้วย 2 หัวข้อวิชา ตาม (1) ถึง (2)


ข้อ 9 วิทยากรฝึกอบรม ต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าสามปีหรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้ หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าสามปี ทั้งนี้ ต้องมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปีเป็นผู้มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิชาที่บรรยายไม่น้อยกว่าหนึ่งปี หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานโดยตรงเกี่ยวกับการพัฒนาองค์ความรู้หรือมาตรฐานด้านความปลอดภัย

ในการทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี สำหรับการฝึกอบรมเฉพาะข้อ ๗ และข้อ ๘

(2) เป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า โดยสอนวิชาด้านความปลอดภัยในการทำงาน และมีประสบการณ์การสอนเกี่ยวกับวิชาดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี

(3) เป็นเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานราชการที่มีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรพนักงานตรวจความปลอดภัยของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานมาไม่น้อยกว่าสามปีและมีประสบการณ์การเป็นวิทยากรด้านความปลอดภัยในการทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งปี


วิยากรที่ฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานต้อง

มีคุณสมบัติตาม (1) ถึง (3)





I BUILT MY SITE FOR FREE USING