แนวทางการนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่อง หลักเกณฑ์การตรวจ

สุขภาพและจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553


สาระของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสารตามกฎหมาย

ข้อ 3  นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ เข้ารับการตรวจสุขภาพโดยแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำหรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำตามเวลา ดังนี้

(1) ก่อนให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ

(2) ตรวจสุขภาพเป็นระยะ อย่างน้อยปีละครั้ง

(3) ตรวจสุขภาพเป็นระยะอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง สำหรับลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป

(4) เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยจากการทำงานประดาน้ำ หรือเจ็บป่วยด้วยโรคอื่นที่แพทย์สั่งให้ลูกจ้างหยุดงานตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป

1. จัดทำรายชื่อพนักงานที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประดาน้ำ

2. ตรวจสุขภาพพนักงานตามข้อ 1 อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

3. พนักงานที่อายุตั้งแต่ 45 ปี ขึ้นไปให้ตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

4. จัดเก็บผลการตรวจ


ข้อ 4 เมื่อตรวจสุขภาพลูกจ้าง และพบสิ่งผิดปกติในร่างกายของลูกจ้างหรือลูกจ้างเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานประดาน้ำ นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้ 

(1) ไม่ให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ

(2) ให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที

1. หากตรวจพบความผิดปกติต้องให้ลูกจ้างหยุดการทำงาน และรายงานผลต่อสำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่

2. นำลูกจ้างเข้ารับการรักษา


ข้อ 5 นายจ้างต้องจัดให้มีระบบการให้คำปรึกษาและการส่งต่อลูกจ้างผู้ป่วยเพื่อให้ได้รับการรักษาโดยมิชักช้าในกรณีเกิดอันตรายจากการทำงานประดาน้ำ

1. จัดบุคลากรทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และส่งต่อผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาโดยไม่ชักช้า



ข้อ 6 ให้นายจ้างจัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้าง โดยมีรายละเอียดตามแนบท้ายประกาศนี้ และเก็บบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ในสถานประกอบกิจการพร้อมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา

1. ตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ

2. จัดทำบัตรตรวจสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ

3. จัดเก็บตรวจสุขภาพลูกจ้างในสถานประกอบกิจการ เพื่อรองรับกรณี สำนักความปลอดภัยแรงงานเข้าตรวจสอบ



I BUILT MY SITE FOR FREE USING