แนวทางนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง โรคที่ห้ามทำงานประดาน้ำ พ.ศ. 2553


สาระของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสาร

ตามกฎหมาย

ข้อ 3 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานประดาน้ำ ในกรณีที่เป็นโรคดังต่อไปนี้

(1) โรคหรือปัญหาการไม่สามารถปรับความดันในหูชั้นกลาง และหรือไซนัสอย่างเรื้อรัง เช่น โรคทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบเรื้อรัง

(2) การฉีกขาดของเยื่อแก้วหู

(3) โรคหูนํ้าหนวกเรื้อรัง

(4) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน รวมถึงเวสติบูลาร์ เช่น

โรคเมเนียร์ (Meniere’s Disease)

(5) โรคปอดอุดกั้นหรือเรื้อรัง รวมถึงโรคหืดหอบ และโรคถุงลมโป่งพอง

(6) โรคโพรงเยื่อหุ้มปอดมีอากาศ (Pneumothorax)

(7) โรคของปอดที่มีโพรง หรือถุงอากาศภายในเนื้อปอด

(8) ประวัติโรคลมชักหรือการชักใด ๆ นอกเหนือจากการชักไข้ในเด็ก

(9) โรคของระบบประสาทส่วนกลางที่อาจส่งผลต่อการทำงานอย่างปลอดภัย

(10) โรคจิตเภท หรือโรคทางจิตเวชที่ต้องรับประทานยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอย่างต่อเนื่อง

(11) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคลิ้นหัวใจ ผนังหัวใจผิดปกติ การเต้นผิดจังหวะของหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดหัวใจที่อาจส่งผล

ต่อการทำงานอย่างปลอดภัย

(12) โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้

(13) โรคเบาหวาน ยกเว้นโรคเบาหวานที่ควบคุมได้โดยไม่ต้องใช้ยา

ก่อนให้พนักงานทำงานประดาน้ำต้องตรวจสุขภาพก่อนทุกครั้ง

1.ประสานงานกับโรงพยาบาลที่จะนำพนักงานไปตรวจสุขภาพ

2. นำพนักงานที่ทำงานประดาน้ำไปตรวจสุขภาพ หากพบว่า ลูกจ้างเป็นโรคตาม (1)-(18) ห้ามให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับการประดาน้ำ


 (14) โรคการตายของเนื้อกระดูกบริเวณใกล้ข้อ (Juxta - articular Osteonecrosis)

(15) โรคที่เกิดจากความผิดปกติของฮีโมโกลบิน

(16) โรคมะเร็งนอกเหนือจากมะเร็งที่รักษาหายขาด และไม่มีการกำเริบภายใน 5 ปี

(17) โรคไส้เลื่อนที่ไม่ได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด

(18) โรคอื่น ๆ ที่แพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำ หรือแพทย์ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรแพทย์เวชศาสตร์ใต้น้ำตรวจวินิจฉัยแล้วว่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้างที่ทำงานประดาน้ำ





I BUILT MY SITE FOR FREE USING