สาระสำคัญของกฎหมาย | แนวทางปฏิบัติ | เอกสารตามกฎหมาย |
ข้อ 3 การทำงานในอุโมงค์ให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 | ให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547 | |
ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้มีคู่มือการทำงานในอุโมงค์และมอบให้ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในอุโมงค์ใช้เป็นคู่มือในการทำงานตลอดเวลาปฏิบัติงานพร้อมทั้งจัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยคู่มือการทำงานในอุโมงค์อย่างน้อยต้องประกอบด้วย ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการทำงานในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน วิธีใช้อุปกรณ์ระบบการสื่อสาร อุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุ ตลอดจนการใช้สัญลักษณ์ และพื้นที่งานส่วนต่าง ๆ ในอุโมงค์ | 1.จัดให้มีคู่มือการทำงานในอุโมงค์ 2.จัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง | |
ขอ 5 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกก่อนให้ลูกจ้างทำงานในอุโมงค์และต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในอุโมงค์เพื่อเฝ้าระวังทุกสามเดือน | 1.จัดทำรายชื่อลูกจ้างที่ทำงานในอุโมงค์ 2.จัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกก่อนให้ลูกจ้างทำงาน 3.จัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในอุโมงค์เพื่อเฝ้าระวังทุกสามเดือน | |
ข้อ 6 ห้ามนายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดเข้าไปในอุโมงค์หากนายจ้างรู้หรือควรรู้ว่าลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคอื่นซึ่งแพทย์เห็นว่าการเข้าไปในอุโมงค์อาจเป็นอันตรายต่อบุคคลดังกล่าว | 1.จัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกก่อนให้ลูกจ้างทำงาน 2.ติดป้ายห้ามป้ายเตือนลูกจ้างหรือบุคคลนั้นเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ | |
ข้อ 7 นายจ้างต้องจัดให้มีป้ายแสดงรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำงานในอุโมงค์ติดไว้ที่ปากทางเข้าอุโมงค์ให้เห็นชัดเจน และต้องตรวจสอบจำนวนลูกจ้างทุกครั้งที่เลิกปฏิบัติงาน | 1.จัดให้มีป้ายแสดงรายชื่อลูกจ้างซึ่งทำงานในอุโมงค์ติดไว้ที่ปากทางเข้าอุโมงค์ให้เห็นชัดเจน 2.ตรวจสอบจำนวนลูกจ้างทุกครั้งที่เลิกปฏิบัติงาน | |
ข้อ 8 นายจ้างต้องกำหนดมาตรการและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงานตลอดเวลาที่ทำงานในอุโมงค์ | 1.จัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้แก่ลูกจ้าง 2.กำหนดมาตรการและควบคุมดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ตลอดเวลาที่ทำงานในอุโมงค์ | |
ข้อ 9 นายจ้างต้องจัดให้มีปล่องที่ใช้เป็นเส้นทางเพื่อให้ลูกจ้างขึ้นหรือลงอุโมงค์ แยกต่างหากจากปล่องที่ใช้ขนส่งวัสดุ กรณีจำเป็นที่ต้องใช้ปล่องเดียวกัน นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการดูแลเพื่อความปลอดภัย | 1.สำรวจพื้นที่ 2.จัดให้มีปล่องที่ใช้เป็นเส้นทางเพื่อให้ลูกจ้างขึ้นหรือลงอุโมงค์แยกต่างหากจากปล่องที่ใช้ขนส่งวัสดุ 3. จัดให้มีมาตรการดูแลเพื่อความปลอดภัยกรณีที่ต้องใช้ปล่องเดียว | |
ข้อ 11 นายจ้างต้องจัดทำรั้วกั้นหรือวิธีการอื่นใดเพื่อปิดกั้นบริเวณรอบปล่องที่ใช้ขนวัสดุขึ้นหรือลงทั้งด้านบนและด้านล่างและต้องไมให้ผู้ใดอยู่ในบริเวณดังกล่าวขณะทำการยกหรือขนวัสดุ ขึ้นหรือลง | 1.จัดทำอุปกรณ์ป้องกันวัสดุตกหล่นบริเวณรอบปล่อง 2.ติดตั้งป้ายเตือนป้ายห้ามในบริเวณรอบปล่องที่ใช้ขนวัสดุขึ้นหรือลง | |
ข้อ 11 นายจ้างต้องจัดให้มีระบบสัญญาณกรณีที่มีการใช้เครื่องจักรยกขนย้ายวัสดุหรือส่งลูกจ้างขึ้นหรือลงอุโมงค์ | จัดให้มีระบบสัญญาณให้ลูกจ้างรับรู้เมื่อมีการใช้เครื่องจักรยกขนย้ายวัสดุ | |
ข้อ 12 นายจ้างต้องติดตั้งสัญญาณแสงวับวาบเตือนในบริเวณที่ลูกจ้างต้องทำงานเฉพาะจุด | 1.สำรวจพื้นที่ 2.จัดให้มีการต้องติดตั้งสัญญาณแสงวับวาบ | |
ข้อ 13 นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพอย่างเพียงพอ และติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ฉุกเฉินให้สามารถเห็นไดชัดเจนเพื่อสามารถติดต่อเรียกผู้ช่วยเหลือหรือแจ้งเหตุไดทันที | 1. จัดให้มีอุปกรณ์ส่งสัญญาณหรือระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ 2. ติดป้ายแสดงหมายเลขโทรศัพท์ ฉุกเฉินให้สามารถเห็นได้ชัดเจน | |
ข้อ 14 นายจ้างต้องตรวจสอบอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องมือ เครื่องจักร เส้นทางขนส่งตูยาสามัญและอุปกรณ์ช่วยชีวิต ระบบสุขาภิบาล และพื้นที่ทำงานทั่ว ๆ ไป อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง | จัดทำแผนการตรวจสอบ เครื่องมืออุปกรณ์ เส้นทางขนส่งตู้ยาสามัญระบบสุขาภิบาลอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง | |
ข้อ 15 นายจ้างต้องควบคุมดูแลและไม่ให้ลูกจ้างโดยสารไปกับเครื่องยกวัสดุอุปกรณ์ | 1.จัดให้มีการอบรมและฝึกปฏิบัติจนกว่าลูกจ้างจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 2.ติดตั้งป้ายห้ามโดยสารไปกับเครื่องยกวัสดุอุปกรณ์ให้เห็นได้อย่างชัดเจน | |
ข้อ 16 นายจ้างต้องติดตั้งไฟฟ้าสำรอง ไฟฉุกเฉิน สัญญาณแจ้งเหตุ และจัดให้มีป้ายหรือเครื่องหมายเตือนภัยไว้ในอุโมงค์ให้เห็นชัดเจน | 1.ติดตั้งไฟฟ้าสำรอง ไฟฉุกเฉิน สัญญาณแจ้งเหตุ 2.ป้ายหรือเครื่องหมายเตือนภัย | |
ข้อ 17 นายจ้างต้องไม่ให้ลูกจ้างทำงานในอุโมงค์ ในกรณีเกิดอัคคีภัย อุทกภัย แผ่นดินไหว หรือภัยอื่นใดซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตราย | เกิดอัคคีภัย อุทกภัยแผ่นดินไหว หรือภัยอื่นใดต้องสั่งให้ลูกจ้างหยุดปฏิบัติงานทันที |