แนวทางนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น 

ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น

และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554


สาระของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสาร

ตามกฎหมาย

ข้อ 5 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรมที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้างพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา

1. ตรวจสอบทะเบียนรายชื่อผู้ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น และตรวจสอบประวัติผู้ที่ยังไม่รับการฝึกอบรม เพื่อทำการอบบรม

2.จัดหาวิทยากรตามคุณสมบัติที่ประกาศกรมสวัสดิการฯ กำหนด หรือผู้ที่ขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการ

3. จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม รวมทั้งเอกสารหลักฐานการฝึกอบรมให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา



ปจ.1.pdf


ปจ.2.pdf

ข้อ 6 ในการฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นผู้จัดฝึกอบรมต้องดำเนินการ ดังนี้

(1) แจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการจัดฝึกอบรม

(2) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด

(3) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับการฝึกอบรมโดยต้องผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

(4) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

1. จัดการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น

2. แจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนการจัดฝึกอบรม

3. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด


ข้อ 7 ผู้จัดฝึกอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่นผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ต้องจัดให้มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีห้องละไม่เกินหกสิบคนต่อวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน และในการทดสอบภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนและปั้นจั่นหนึ่งเครื่องต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินยี่สิบคน

1.จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด



ข้อ 8 ในการทดสอบภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการทดสอบภาคปฏิบัติในสถานที่จริง หรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง

การทดสอบภาคปฏิบัติจะต้องทดสอบในสถานที่จริง หรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง



ข้อ 9 ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง กรณีหนึ่งกรณีใดดังนี้

(1) ผู้ผ่านการอบรมและทำงานมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี

(2) เมื่อมีสถิติอุบัติเหตุสูงขึ้นหรือเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงเกี่ยวกับปั้นจั่นในสถานที่ทำงาน

(3) เมื่อมีการนำปั้นจั่นชนิดหรือลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน

1. ตรวจสอบทะเบียนรายชื่อผู้ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น และตรวจสอบประวัติผู้ที่ยังไม่รับการฝึกอบรม

2. ตรวจสอบสถิติอุบัติเหตุเกี่ยวกับปั้นจั่น

3. จัดฝึกอบรมเมื่อมีการนำปั้นจั่นชนิดหรือลักษณะที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน


ข้อ 10 หลักสูตรการฝึกอบรมในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่น มีดังต่อไปนี้

(1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่น

(2) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ

(3) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น

(4) หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น

จัดให้ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับปั้นจั่นฝึกอบรมตามหลักสูตรที่ตรงกับตำแหน่งงาน รวมถึงการฝึกอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นด้วย



ข้อ 11 หลักสูตรการฝึกอบรมที่กำหนดไว้ตามข้อ 10 ในการฝึกอบรมความรู้พื้นฐานภาคทฤษฎี มีกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 6ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้

(1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552

(2) มาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย

(3) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปั้นจั่น และชนิดของปั้นจั่น

(4) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเชือก ลวดสลิง โซ่ และอุปกรณ์ยก

(5) บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น

(6) ความปลอดภัยในการทำงาน สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่น

จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด

 


ข้อ 12 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นเหนือศีรษะ ปั้นจั่นขาสูง และปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ชนิดอื่น ต้องประกอบด้วย

(1) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้

 (1.1) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 11

 (1.2) ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น

 (1.3) ระบบสัญญาณเตือน และ Limit switch

 (1.4) การใช้สัญญาณมือ

 (1.5) วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย

 (1.6) การประเมินน้ำหนักสิ่งของ

 (1.7) การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา

(2) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย

1. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด

2. อบรมภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง



ข้อ 13 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้บังคับปั้นจั่นชนิดปั้นจั่นหอสูง รถ เรือปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย

(1) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 15ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้

 (1.1) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 11

 (1.2) ระบบเครื่องยนต์ดีเซลเบื้องต้น

(1.3) ระบบการไฮดรอลิก เบื้องต้น

 (1.4) ระบบไฟฟ้าเบื้องต้น

 (1.5) ระบบสัญญาณเตือนและ Limit switch

 (1.6) การใช้สัญญาณมือและเครื่องหมายจราจร

 (1.7) การอ่านค่าตารางพิกัดยก

 (1.8) การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก

 (1.9) วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย

 (1.10) การประเมินน้ำหนักสิ่งของ

 (1.11) การใช้คู่มือการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลา

(2) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบการยกและเคลื่อนย้ายสิ่งของตามเส้นทางที่กำหนดอย่างถูกต้องและปลอดภัย

1. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด

2. อบรมภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง


ข้อ 14 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ ต้องประกอบด้วย

(1) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้

 (1.1) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 11

 (1.2) การใช้สัญญาณมือ

 (1.3) การเลือกใช้ และการตรวจสอบอุปกรณ์ยก

 (1.4) วิธีผูกมัดและการยกเคลื่อนย้าย

 (1.5) การประเมินน้ำหนักสิ่งของ

(2) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการให้สัญญาณ การผูก มัด การยึดเกาะวัสดุอย่างถูกต้องและปลอดภัย

1. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด

2. อบรมภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง


ข้อ 15 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น ต้องประกอบด้วย

(1) ภาคทฤษฎี มีระยะเวลาการอบรมไม่น้อยกว่า ๙ ชั่วโมง ซึ่งอย่างน้อยต้องมีเนื้อหาวิชาที่อบรม ดังนี้

 (1.1) ความรู้พื้นฐาน และระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 11

 (1.2) การใช้สัญญาณมือ

 (1.3) วิธีผูก มัดและการยกเคลื่อนย้าย

 (1.4) การประเมินน้ำหนักสิ่งของ

(2) การทดสอบภาคปฏิบัติเสมือนจริง มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ซึ่งต้องมีการทดสอบเกี่ยวกับการวางแผนการยกอย่างปลอดภัยและพิจารณาพิกัดน้ำหนักที่จะทำการยกโดยกำหนด

ลักษณะรูปร่าง วัสดุของสิ่งของที่จะยก

1. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด

2. อบรมภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่า 9 ชั่วโมงและภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง


ข้อ 16 หลักสูตรการอบรมหรือทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง ดังต่อไปนี้

(1) กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2552

(2) กิจกรรมกลุ่มกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุของปั้นจั่นและความสูญเสียรวมทั้งนำผลการสอบสวนอุบัติเหตุมาวิเคราะห์เพื่อวางแผนป้องกัน

(3) ความปลอดภัยในการใช้งานปั้นจั่น กรณีที่นำปั้นจั่นชนิดหรือประเภทที่แตกต่างจากเดิมมาใช้งาน

1. จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตามหัวข้อวิชาการฝึกอบรมที่กำหนด

2. การฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 3ชั่วโมง


ข้อ 17 วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์สาขาวิศวกรรมเครื่องกลหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 1 ปี

(2) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์หรือเทียบเท่าหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน ช่างเทคนิคอุตสาหกรรม ช่างไฟฟ้า

หรือเทียบเท่า หรือเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นไม่น้อยกว่า 3 ปี  หรือมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 3 ปี

(3) ช่างชำนาญการ ซึ่งมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่นและหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 5 ปี

(4) เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีประสบการณ์ในหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 1 ปี

1. ให้วิทยากรที่มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ตามประกาศกรมสวัสดิการฯ กำหนด เป็นผู้อบรมลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น


 

                             


I BUILT MY SITE FOR FREE USING