ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

ในที่อับอากาศ พ.ศ. 2549

 

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสารตามกฎหมาย

ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้กับผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการอนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หลักสูตรการฝึกอบรมและวิทยากรฝึกอบรม

ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้กรณีที่นายจ้างไมสามารถจัดให้ มีการ

ฝากอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้แก่บุคคล ตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจัดให้บุคคลดังกล่าวเข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยงานของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

1. สำรวจจำนวนพนักงานที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

2.จัดทำแผนการฝึกอบรม กำหนดการฝึกอบรม

3.จัดหาวิทยากรโดยคุณสมบัติต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

4.แจ้งสำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่

4.ดำเนินการฝึกอบรมตามข้อกำหนดของกฎหมาย

5. ออกใบรับรอง

6.จัดทำทะเบียนผู้ผ่านการฝึกอบรม










ข้อ 5 ในการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ผู้จัดฝึกอบรมต้องดำเนินการดังนี้

(1) แจ้งกำหนดการฝึกอบรมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดี มอบหมายไมน้อยกว่าเจ็ดวัน ก่อนการจัดฝึกอบรม

(2) จัดให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้ารับการฝึกอบรมเต็มเวลาตลอดหลักสูตรที่กำหนด

(3) จัดให้มีการวัดผลและประเมินผลผู้เข้ารับฝึกอบรม

(4) ออกใบรับรองให้แก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม

1.จัดทำจดหมายแจ้ง

2. จัดทำแผนการฝึกอบรม กำหนดการฝึกอบรม

3. นำ ข้อ 1 – 2 ส่งสำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ ไม่น้อยกว่า 7 วัน

4.จัดฝึกอบรม

5.ประเมินผลการฝึกอบรม

6.ออกใบรับรองผู้ผ่านการฝึกอบรม



ข้อ 6 ผู้จัดการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึก

อบรมภาคทฤษฎีไมเกินสามสิบคน และวิทยากรอย่างน้อง หนึ่งคน และในภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสิบห้าคน

การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องจัดให้ห้องฝึกอบรมหนึ่งห้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่เกิน30 คน และวิทยากรอย่างน้อย 1 คน และในภาคปฏิบัติต้องจัดให้มีวิทยากรอย่างน้อย 1 คน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 50 คน


ข้อ 7 ในการฝึกภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง และได้รับการฝึกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงทุกคน

การฝึกภาคปฏิบัติ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติในสถานที่จริงหรือมีลักษณะเหมือนสถานที่จริง




ข้อ 8 รายการอุปกรณ์การฝึกอบรมภาคปฏิบัติอย่างน้อย ต้องระกอบด้วย

(1) เครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ

(2) เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้

(3) เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ

(4) เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

(5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามเนื้อหาหลักสูตร ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดส่งอากาศช่วยหายใจ อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต

ที่เหมาะสมกับลักษณะงานในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรม ให้นายจ้างเลือกใช้เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศตามความเหมาะสมกับสารเคมีที่มีในสถานประกอบกิจการ

1.อุปกรณ์การฝึกอบรมภาคปฏิบัติอย่างน้อย ต้องระกอบด้วย

(1) เครื่องตรวจวัดปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ

(2) เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้

(3) เครื่องตรวจวัดค่าความเข้มข้นของสารเคมีในบรรยากาศ

(4) เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ

(5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามเนื้อหาหลักสูตร ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจชนิดส่งอากาศช่วยหายใจ อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิต


ข้อ 9 หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศมี ดังนี้

(1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต

(2) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน

(3) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ

(4) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

(5) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

1.การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศมี ดังนี้

(1) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต

(2) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน

(3) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ

(4) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

(5) หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและปฏิบัติงานในที่อับอากาศ


ข้อ 10 หลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามข้อ 9 ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมหกชั่วโมง ดังนี้

(1) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(3) การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย หนึ่งชั่วโมง

(5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(6) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศสามสิบนาที

(7) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ สามสิบนาที

1.การฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศตามข้อ 9 ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมรวม 6 ชั่วโมง ดังนี้

(1) กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ1ชั่วโมง

(2) ความหมาย ชนิด ประเภทของที่อับอากาศ และอันตรายในที่อับอากาศ 1 ชั่วโมง

(3) การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ 1 ชั่วโมง

(4) วิธีการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย 1   ชั่วโมง

(5) อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ 1 ชั่วโมง

(6) ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาตทำงานในที่อับอากาศ30 นาที

(7) บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ 30 นาที


ข้อ 11 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

1.การฝึกอบรมผู้อนุญาต ต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมตาม ข้อ 10


 ข้อ 12 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมเก้าชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(4) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว สามสิบนาที

(5) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศสามสิบนาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง

1.การฝึกอบรมผู้ควบคุมงาน ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวม 9ชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ 1 ชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ 1 ชั่วโมง

(4) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว 30 นาที

(5) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ 30 นาที การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง


 ข้อ 13 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย สามสิบนาที

(5) การดับเพลิงขั้นต้น สามสิบนาที

(6) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที

(7) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น สามสิบนาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าห้าชั่วโมง


1.การฝึกอบรมผู้ช่วยเหลือ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวม 10ชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ 1 ชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ 1 ชั่วโมง

(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย 30 นาที

(5) การดับเพลิงขั้นต้น 30 นาที

(6) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต 30 นาที

(7) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น 30 นาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง


ข้อ 14 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมเก้าชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย สามสิบนาที

(5) การดับเพลิงขั้นต้น สามสิบนาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าสามชั่วโมง


1.การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวม 9 ชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ 1 โมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ 1ชั่วโมง

(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย 30นาที

(5) การดับเพลิงขั้นต้น 30 นาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง


ข้อ 15 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวมสิบเอ็ดชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ หนึ่งชั่วโมง

(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย สามสิบนาที

(5) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว สามสิบนาที

(6) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ

สามสิบนาที

(7) การดับเพลิงขั้นต้น สามสิบนาที

(8) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต สามสิบนาที

(9) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น สามสิบนาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าห้าชั่วโมง

1.การฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือและผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ภาคทฤษฎีต้องมีหัวข้อวิชาและระยะเวลาการฝึกอบรมรวม 11                                                                                                                                                            ชั่วโมง ดังนี้

(1) วิชาพื้นฐานและระยะเวลาการฝึกอบรมตามข้อ 10

(2) เทคนิคการตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ 1 ชั่วโมง

(3) เทคนิคการระบายอากาศ 1ชั่วโมง

(4) อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการหลีกหนีภัย 30 นาที

(5) การสั่งให้หยุดทำงานชั่วคราว 30 นาที

(6) การวางแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานในที่อับอากาศ 30 นาที

(7) การดับเพลิงขั้นต้น 30 นาที

(8) การช่วยเหลือและช่วยชีวิต 30 นาที

(9) การปฐมพยาบาลและการช่วยเหลือเบื้องต้น 30 นาที

การฝึกอบรมภาคปฏิบัติให้มีระยะเวลาการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง




ข้อ 16 วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคทฤษฎีต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า

(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ โดยผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสองปี

(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมาไม่น้อยกว่าสามปี โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสามปี

(4) มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าห้าปี

(5) สำเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย

(6) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ

1.วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคทฤษฎีต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า

(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ โดยผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 2 ปี

(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมาไม่น้อยกว่า 3ปี โดยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 3 ปี

(4) มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 5 ปี

(5) สำเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย

(6) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยใน


ข้อ 17 วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสองปี

(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมาไม่น้อยกว่าสามปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสิบสองชั่วโมง และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าสามปี

(4) มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าห้าปี

(5) สำเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่าห้าปี

(6) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่าหนึ่งปี

1.วิทยากรผู้ทำการฝึกอบรมภาคปฏิบัติต้องมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 1 ปี

(2) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 2 ปี

(3) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างานมาไม่น้อยกว่า 3ปี และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 

 12 ชั่วโมง และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 3 ปี

(4) มีความรู้และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 5 ปี

(5) สำเร็จการศึกษาหรือผ่านการอบรมเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยาย และมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับหัวข้อที่บรรยายไม่น้อยกว่า 5 ปี

(6) ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับ และมีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศไม่น้อยกว่า 1 ปี


 ข้อ 18 หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ได้แก่

(1) สถาบันการศึกษาของรัฐ หรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอน สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า

(2) หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

(3) รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

(4) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรม

ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

(5) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

1.หน่วยงานที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ได้แก่

(1) สถาบันการศึกษาของรัฐ หรือเอกชน ซึ่งมีหลักสูตรการสอน สาขาอาชีวอนามัยหรือเทียบเท่า

(2) หน่วยงานราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล(3) รัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

(4) นิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด หรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งนิติบุคคลอื่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรม

ด้านความปลอดภัยในการทำงาน

(5) หน่วยงานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด


ข้อ 19 หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีบุคลากรซึ่งมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทำหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมอย่างน้อยหนึ่งคน

(2) มีวิทยากรซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 16 หรือข้อ 17 ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศอย่างน้อยหนึ่งคน

(3) มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(4) มีอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(5) ไม่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง เว้นแต่พ้นกำหนดสามปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง

(6) ไม่มีผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศอื่นที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรองมาแล้วเว้นแต่พ้นกำหนดสามปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง

1.หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีบุคลากรซึ่งมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทำหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมอย่างน้อย 1คน

(2) มีวิทยากรซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 16 หรือข้อ 17 ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศอย่าง 1 หนึ่งคน

(3) มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(4) มีอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียนข้อ 19 หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(1) มีบุคลากรซึ่งมีคุณสมบัติไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทำหน้าที่บริหารจัดการการฝึกอบรมอย่างน้อย 1 คน

(2) มีวิทยากรซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 16 หรือข้อ 17 ที่ปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศอย่าง 1 หนึ่งคน

(3) มีเอกสารประกอบการฝึกอบรมที่มีเนื้อหาและรายละเอียดตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(4) มีอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(5) ไม่เคยถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง เว้นแต่พ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง

(6) ไม่มีผู้ซึ่งเป็นหรือเคยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศอื่นที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรองมาแล้วเว้นแต่พ้นกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ถูกเพิกถอนทะเบียนหรือถูกเพิกถอนใบรับรอง


ข้อ 20 ให้หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ยื่นคำขอพร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

(1) สำเนาเอกสารที่แสดงถึงความเป็นหน่วยงานตามข้อ 18

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงาน

(3) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงาน

(4) สำเนาหนังสือแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของนิติบุคคลหรือวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงาน

(5) แผนที่แสดงที่ตั้งของหน่วยงานโดยสังเขป

(6) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติโดยสังเขป

(7) รายชื่อเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของบุคลากรซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการฝึกอบรม

(8) รายชื่อเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของวิทยากร รวมทั้งหนังสือยืนยันการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงาน

(9) เอกสารประกอบการฝึกอบรม ตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(10) เอกสารแสดงรายการอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมตามข้อ 8

ให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารตามวรรคหนึ่ง

1.หน่วยงานที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ยื่นคำขอพร้อมเอกสาร ดังต่อไปนี้ ต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

(1) สำเนาเอกสารที่แสดงถึงความเป็นหน่วยงานตามข้อ 18

(2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงาน

(3) สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงาน

(4) สำเนาหนังสือแสดงวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการของนิติบุคคลหรือวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงาน

(5) แผนที่แสดงที่ตั้งของหน่วยงานโดยสังเขป

(6) แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ฝึกภาคปฏิบัติโดยสังเขป(7) รายชื่อเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของบุคลากรซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการฝึกอบรม

(8) รายชื่อเอกสารหลักฐานแสดงคุณสมบัติของวิทยากร รวมทั้งหนังสือยืนยันการเป็นวิทยากรให้กับหน่วยงาน

(9) เอกสารประกอบการฝึกอบรม ตามหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ขอขึ้นทะเบียน

(10) เอกสารแสดงรายการอุปกรณ์ประกอบการฝึกอบรมตามข้อ 8 ให้ผู้มีอำนาจกระทำการแทนหน่วยงานลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารตามวรรคหนึ่ง


ข้อ 21 เมื่อมีการยื่นคำขอตามข้อ 20 และอธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 19 ให้อธิบดีขึ้นทะเบียนผู้ยื่นคำขอนั้นเป็นหน่วยงาน

ฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และออกใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน พร้อมมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายในห้าวัน นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียนในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคำขอขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 19 ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว

1.เมื่อมีการยื่นคำขอตามข้อ 20 และอธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคำขอมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 19 ให้อธิบดีขึ้นทะเบียนผู้ยื่นคำขอนั้นเป็นหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ และออกใบสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียน พร้อมมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบภายใน

5 วัน นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียนในกรณีที่อธิบดีพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ยื่นคำขอขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 19 ให้อธิบดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบโดยเร็ว


ข้อ 22 ในกรณีที่ปรากฏภายหลังว่า หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ ๒๑ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 19 ให้อธิบดีเพิกถอนทะเบียน

1.กรณีที่ปรากฏภายหลังว่า หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ ๒๑ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามอย่างหนึ่งอย่างใดตามข้อ 19 ให้อธิบดีเพิกถอนทะเบียน


ข้อ 23 ในกรณีที่หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 21 มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง สถานภาพของหน่วยงาน วิทยากรฝึกอบรม หรือ

มีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดจากที่ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนไว้ ให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศนั้นส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

1.กรณีที่หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามข้อ 21 มีการเปลี่ยนแปลงที่ตั้ง สถานภาพของหน่วยงาน วิทยากรฝึกอบรม หรือ มีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดจากที่ได้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนไว้ ให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศนั้นส่งเอกสารแสดงการเปลี่ยนแปลงต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง


ข้อ 24 การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้มีอายุคราวละสามปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียนหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้ไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง และให้นำความในข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดยอนุโลม

1.การขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศให้มีอายุคราวละ 3 ปี นับแต่วันที่ขึ้นทะเบียนหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียนอาจยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายได้ไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนวันที่การขึ้นทะเบียนจะสิ้นสุดลง และให้นำความในข้อ 19 ข้อ 20 และข้อ 21 มาใช้บังคับแก่การยื่นคำขอต่ออายุการขึ้นทะเบียนโดยอนุโลม


ข้อ 25 ให้นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา

1.นายจ้างจัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม วัน เวลาที่ฝึกอบรม พร้อมรายชื่อวิทยากรเก็บไว้ ณ สถานประกอบกิจการหรือสำนักงานของนายจ้าง พร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้ตลอดเวลา


ข้อ 26 ให้นายจ้างจัดทำรายงานผลการฝึกอบรมตามข้อ 4 ซึ่งประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร วันและเวลาที่ฝึกอบรม แจ้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เว้นแต่ในปีนั้นไม่ได้มีการฝึกอบรม

1.นายจ้างจัดทำรายงานผลการฝึกอบรมตามข้อ 4 ซึ่ง

ประกอบด้วยชื่อหลักสูตร จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม ชื่อวิทยากร วันและเวลาที่ฝึกอบรม แจ้งต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


ข้อ 27 ให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารเกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกอบรมแต่ละครั้ง โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

ภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม

1.หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม และเอกสารเกี่ยวกับการประเมินผลการฝึกอบรมแต่ละครั้ง โดยให้วิทยากรซึ่งเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรมเป็นผู้รับรองเอกสารดังกล่าว และส่งเอกสารนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย

ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกอบรม


ข้อ 28 ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเข้าไปในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียน สถานที่จัดการฝึกอบรมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงตรวจสอบ หรือกำกับ ดูแลให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศปฏิบัติ

ให้เป็นไปตามประกาศนี้ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งสิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง

1.อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจเข้าไปในหน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่ได้รับการขึ้นทะเบียน สถานที่จัดการฝึกอบรมเพื่อสอบถามข้อเท็จจริงตรวจสอบ หรือกำกับ ดูแลให้หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศปฏิบัติ ให้เป็นไปตามประกาศนี้ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวก ชี้แจงข้อเท็จจริง ส่งสิ่งของ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องแก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง


ข้อ 29 หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

(2) สั่งให้หยุดการดำเนินงานเป็นการชั่วคราว

(3) เพิกถอนทะเบียน

1.หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายมีอำนาจสั่งการอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(1) มีหนังสือเตือนให้ปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด

(2) สั่งให้หยุดการดำเนินงานเป็นการชั่วคราว

(3) เพิกถอนทะเบียน


ข้อ 30 ผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือหรือผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2548 ก่อนวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าผู้นั้นผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกอบรมผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามประกาศนี้



ข้อ 31 หน่วยงานฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศซึ่งได้ใบรับรองตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ให้ถือว่าเป็น

หน่วยงานฝึกอบรมที่ขึ้นทะเบียนตามประกาศนี้ จนกว่าใบรับรองจะสิ้นอายุ



ข้อ 32 ผู้เข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรการเป็นวิทยากรเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยอมรับตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงาน

ในที่อับอากาศ ลงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2548 ก่อนหรือหลังวันที่ประกาศนี้มีผลใช้บังคับและผ่านการฝึกอบรมภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2549 ให้ถือว่าผู้นั้นมีคุณสมบัติเป็นวิทยากร

ผู้ทำการฝึกอบรมภาคปฏิบัติตามประกาศนี้




I BUILT MY SITE FOR FREE USING