แนวทางนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น



สาระสำคัญของกฎหมาย

 

แนวทางปฏิบัติ

เอกสาร

ตามกฎหมาย

ข้อ3 ให้นายจ้างจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นตามประเภทและลักษณะของงาน ดังนี้

(1) ปั้นจั่นที่ใช้ในงานก่อสร้าง

(ก) ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดไม่เกิน 3 ตัน ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ 6 เดือน

(ข) ขนาดพิกัดยกมากกว่า 3 ตันขึ้นไป ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ 3 เดือน

(ค) ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดในการทดสอบให้นายจ้างทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด

(2) ปั้นจั่นที่ใช้งานอื่น ๆ

(ก) ขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนดตั้งแต่ 1 ตัน แต่ไม่เกิน 3 ตันต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นปีละหนึ่งครั้ง

(ข) ขนาดพิกัดยกมากกว่า 3 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ต้องจัดให้มีการทดสอบ

ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุกๆ 6 เดือน

 (ค) ขนาดพิกัดยกมากกว่า 50 ตันขึ้นไป ต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบ

และอุปกรณ์ของปั้นจั่นทุก ๆ 3 เดือน

(ง) ที่ไม่มีรายละเอียดขนาดพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด ในการทดสอบให้นายจ้างทดสอบโดยใช้ขนาดพิกัดยกตามที่วิศวกรกำหนด


1. จัดทำบัญชีเครื่องจักร

2.จัดทำแผนการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นประจำปีให้เป็นไปตามที่ประกาศกำหนด


ปจ.1.pdf

ปจ.2.pdf

ข้อ 4 ปั้นจั่นตามข้อ 3 ที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป หรือปั้นจั่นที่มีการซ่อมแซมที่มีผลต่อความปลอดภัยของปั้นจั่น ก่อนนำมาใช้งานใหม่จะต้องจัดให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น

ปั้นจั่นที่หยุดการใช้งานตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป หรือปั้นจั่นที่มีการซ่อมแซม ให้มีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นก่อนนำมาใช้งาน

ปจ.1.pdf

ปจ.2.pdf

ข้อ 5 หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่น ให้ดำเนินการดังนี้

(1) การทดสอบการรับน้ำหนัก

(ก) ปั้นจั่นใหม่ ก่อนจะนำมาใช้งานให้ทดสอบการรับน้ำหนักดังนี้

 1) ขนาดไม่เกิน 20 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1 เท่า แต่ไม่เกิน 1.25 เท่าของพิกัดยกอย่างปลอดภัย

2) ขนาดมากกว่า 20 ตัน แต่ไม่เกิน 50 ตัน ให้ทดสอบการรับน้ำหนักเพิ่มอีก 5 ตัน จากพิกัดยกอย่างปลอดภัย

(ข) ปั้นจั่นที่ใช้งานแล้ว ให้ทดสอบการรับน้ำหนักที่ 1.25 เท่าของน้ำหนัก ที่ใช้งานจริงสูงสุดโดยไม่เกินพิกัดยกอย่างปลอดภัยตามที่ผู้ผลิตกำหนด กรณีไม่มีพิกัดยกอย่างปลอดภัยที่ผู้ผลิตกำหนด ให้ทดสอบการรับน้ำหนักตามที่วิศวกรกำหนดน้ำหนักที่ใช้ทดสอบการยก อาจใช้การทดสอบด้วยน้ำหนักจริง หรือทดสอบด้วยน้ำหนักจำลอง (Load Simulation)

(2) การวัดขนาดและเส้นผ่านศูนย์กลางให้ใช้เครื่องมือที่มีความละเอียดในการวัดไม่น้อยกว่า 0.1 มิลลิเมตร

(3) การตรวจสอบแนวเชื่อมให้ดำเนินการโดยวิธีตรวจพินิจด้วยสายตา หรือโดยวิธีอื่นที่เหมาะสม

หลักเกณฑ์และวิธีการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของปั้นจั่นให้เป็นไปตามที่ประกาศกำหนด


ข้อ 6 นายจ้างต้องจัดให้มีเอกสารที่มีข้อมูลรายการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่น โดยมีวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้รับรอง ภาพถ่ายของวิศวกรขณะทดสอบ และสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม และเก็บไว้เป็นหลักฐานให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

1. จัดให้มีเอกสารที่มีข้อมูลรายการทดสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์สำหรับปั้นจั่น โดยมีวิศวกรเครื่องกลเป็นผู้รับรอง

2. เก็บเอกสารไว้เป็นหลักฐานให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ


ข้อ 7 นายจ้างต้องปฏิบัติตามคำแนะนำ วิธีการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงสร้างหรือส่วนประกอบของปั้นจั่นส่วนใดส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดหรือความไม่สมบูรณ์เชิงวิศวกรรมตามบันทึกของวิศวกรผู้ทดสอบ

ปฏิบัติตามคำแนะนำ วิธีการแก้ไขตามบันทึกของวิศวกรผู้ทดสอบ


 

                             


I BUILT MY SITE FOR FREE USING