แนวทางนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัย

ในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2552

 

สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสาร

ตามกฎหมาย

ขอ 3 ให้นายจ้างจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างดังต่อไปนี้

(1) งานอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลังเดียวกันเกิน 2,000 เมตร

หรืออาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป  และมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นหนึ่งชั้นใดในหลัง

เดียวกันเกิน 1,000 ตารางเมตร

(2) งานสะพานที่มีช่วงความยาวตั้งแต่ 30 เมตรขึ้นไป หรืองานสะพานข้ามทางแยกหรือทางยกระดับ สะพานกลับรถ หรือทางแยกต่างระดับ

(3) งานขุด งานซ่อม หรืองานรื้อถอนระบบสาธารณูปโภคที่ลึกตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป

(4) งานอุโมงค์หรือทางลอด

(5) งานก่อสร้างอื่นที่อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานประกาศกำหนดการจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานดังกล่าว ให้จัดทำก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้าง และเก็บไวพรอมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

1.จัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อนเริ่มดำเนินการก่อสร้างตามคู่มือแนวการจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง

2.เก็บแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานไวพรอมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ


คู่มือการจัดทำแผน.pdf

ขอ 4 แผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างต้องจัดทำเป็นหนังสือและสอดคลองกับแผนงานการก่อสร้าง ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

(1) แผนควบคุมดูแลความปลอดภัยในการทำงานที่สอดคลองกับกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน

(2) แผนฝึกอบรมให้ความรูด้านความปลอดภัยในการทำงานแกลูกจ้างที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับ

การทำงานตามข้อ 3

(3) แผนรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงาน

(4) แผนฉุกเฉินกรณีเกิดอุบัติเหตุในการทำงาน

(5) แผนการตรวจสอบ วิเคราะห์ และรายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น

แผนงานด้านความปลอดภัยต้องจัดทำเป็นหนังสืออย่างน้อยต้องประกอบด้วย

- แผนควบคุมดูแลความปลอดภัย

- แผนฝึกอบรมให้ความรูด้านความปลอดภัย

- แผนรณรงค์ส่งเสริมความปลอดภัย

- แผนฉุกเฉิน

- แผนการตรวจสอบ วิเคราะห์ และรายงานอุบัติเหตุ



ขอ 5แผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้างตามข้อ  4   ตองมีรายละเอียด เช่น  ชื่อโครงการหรือกิจกรรม  วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ  แผนการ

ปฏิบัติงาน ซึ่งระบุวิธีการ ขั้นตอนและระยะเวลาการปฏิบัติ ผลลัพธ์ที่คาดว่าจะไดรับ  ผลสัมฤทธิ์ของโครงการหรือกิจกรรม  วิธีการประเมินผลโครงการหรือกิจกรรม  ระยะเวลาการทบทวน

และปรับปรุงแกไขแผนงาน และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ

จัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยตามคู่มือแนวการจัดทำแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงานสำหรับงานก่อสร้าง


                                


I BUILT MY SITE FOR FREE USING