แนวทางนำไปปฏิบัติ

ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็ม

ระบบไอน้ำ ระบบลม ระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน 

ระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น พ.ศ. 2552


สาระสำคัญของกฎหมาย

แนวทางปฏิบัติ

เอกสารตามกฎหมาย

ข้อ 3 นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบไอน้ำระบบลม  ระบบไฮดรอลิค ระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน ระบบดีเซลแฮมเมอร์ หรือระบบอื่น ต้องปฏิบัติ ดังนี้

(1) ก่อนเริ่มปฏิบัติงานตอกเสาเข็มให้จัดฝึกอบรมให้กับลูกจ้างเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามคู่มือการใช้เครื่องตอกเสาเข็มและคู่มือการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงาน  ในการตอก

เสาเข็มตามข้อ 43 แห่งกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทางานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551 และจัดเก็บหลักฐานการฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบได้

(2) จัดให้มีผู้ให้สัญญาณสื่อสารในการตอกเสาเข็มเพื่อปฏิบัติตามคู่มือการใช้เครื่องตอกเสาเข็มและคู่มือการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างปฏิบัติงานในการตอกเสาเข็ม

(3) ควบคุมดูแล ให้ลูกจ้างอยู่ในสภาพที่พร้อมในการปฏิบัติงาน

1. จัดให้มีการอบรมลูกจ้างที่ปฏิบัติงานในการตอกเสาเข็ม

2. จัดให้มีคู่มือการใช้เครื่องตอกเสาเข็ม

3. จัดให้มีคู่มือการใช้สัญญาณสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานในการตอกเสาเข็ม

4. จัดเก็บหลักฐานการฝึกอบรมพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจแรงงานตรวจสอบ

5. ควบคุมดูแล ให้ลูกจ้างอยู่ในสภาพที่พร้อมในการปฏิบัติงาน                                           


ข้อ 4 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดที่ไมมีหน้าที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอยู่ในสถานที่ก่อสร้าง เขตก่อสร้าง หรือในพื้นที่รับผิดชอบของนายจ้างอยู่ใกล้บริเวณแท่นเครื่องตอกเสาเข็มในระยะน้อยกว่า 2 เท่าของความสูงของโครงเครื่องตอกเสาเข็มหรือเสาเข็ม ในขณะที่มีการใช้เครื่องตอกเสาเข็ม เช่น การเคลื่อนย้ายเครื่องตอกเสาเข็ม การยกเสาเข็ม การตอกเสาเข็ม

1. ติดตั้งรั้วกั้นเขตพื้นที่การก่อสร้าง

2. ติดป้ายห้ามป้ายเตือนผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าในบริเวณการทำงานของเครื่องตอกเสาเข็ม ให้เห็นได้อย่างชัดเจน


ขอ 5 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหรือบุคคลใดโหนเชือกหรือลวดสลิงของเครื่องตอกเสาเข็ม

1. จัดทำหรือจัดหาคู่มือการทำงานอย่างปลอดภัยกับเครื่องตอกเสาเข็ม

2. ติดป้ายห้ามโหนเชือกหรือลวดสลิงที่เครื่องตอกเสาเข็มให้เห็นอย่างชัดเจน


ข้อ 6 การทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็ม นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังนี้

(1) การทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบลม หรือระบบไฮดรอลิค

ก. จัดให้มีการยึดโยง  ท่อลม  หรือท่อไฮดรอลิคกับตัวลูกตุ้มของเครื่องตอกเสาเข็มให้มั่นคงแข็งแรง

ข. หยุดการใช้เครื่องตอกเสาเข็มระบบลมหรือระบบไฮดรอลิค  กรณีท่อลมหรือท่อไฮดรอลิคชำรุด จนกว่าจะมีการแกไขให้มีความปลอดภัย

(2) การทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบเครื่องยนต์เผาไหม้ภายใน

ก. ตรวจสอบลวดสลิงให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ก่อนและหลังการใช้งานทุกครั้ง

หากพบว่าชำรุดต้องหยุดการใช้ทำงานจนกว่าจะแก้ไขให้มีความปลอดภัย

ข. จัดให้มีแผ่นเหล็กเหนียวกั้นหรือมีลูกกลิ้งบริเวณเหนือร่องรอกส่วนบนของเครื่องตอกเสาเข็มเพื่อป้องกันลวดสลิงหลุดจากร่องรอก

ค. จัดให้มีการยึดปลายสลักที่สอดร้อยลูกตุ้มเพื่อป้องกันลูกตุ้มหลุด

ง. เมื่อหยุดการตอกเสาเข็ม  ต้องดูแลและควบคุมให้ลดระดับลูกตุ้มตอกเสาเข็มไว้ในตำแหน่งต่ำสุดของรางนำส่งเสาเข็มบนที่รองรับที่มีความมั่นคงแข็งแรง

(3) การทำงานเกี่ยวกับเครื่องตอกเสาเข็มระบบดีเซลแฮมเมอร์

ก. จัดให้มีบันไดพร้อมราวจับ และโครงกันตกโลหะติดกับโครงเครื่องตอกเสาเข็ม

ข. กรณีโครงเครื่องตอกเสาเข็มมีชั้นพัก ต้องจัดทำพื้นและทางเดินบนชั้นพักเป็นแบบกันลื่น และมีราวกันตกที่มีความมั่นคงแข็งแรงโดยรอบ

ค. จัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องหยุดอัตโนมัติที่สามารถหยุดการทำงานของเครื่องตอกได้ทันทีในกรณีฉุกเฉิน

1. จัดทำแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ของเครื่องจักรและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายของเครื่องตอกเสาเข็ม

2. จัดทำเช็คลิสต์เพื่อตรวจสอบความพร้อมในการทำงานของเครื่องตอกเสาเข็ม

3. เมื่อเครื่องตอกเสาเข็มมีการชำรุดเสียหายให้สั่งหยุดจนกว่าจะมีการแก้ไขให้มีความปลอดภัย

4. จัดให้มีอุปกรณ์หรือเครื่องหยุดอัตโนมัติเพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน


                                


I BUILT MY SITE FOR FREE USING