สาระสำคัญของกฎหมาย | แนวทางปฏิบัติ | เอกสารตามกฎหมาย |
มาตรา ๖ ให้นายจ้างดูแลสถานประกอบกิจการและลูกจ้างให้มีสภาพการทำงานและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ ไม่เป็นอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัย และให้ลูกจ้างร่วมมือกับนายจ้างในการดำเนินการและส่งเสริมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย | 1.จัดทำ Checklists กฎหมายที่เกี่ยวข้องในสถานประกอบกิจการ 2.ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายตาม Checklists ของแต่ละงาน 3.ดำเนินการให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด | |
มาตรา ๗ ในกรณีที่พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้นายจ้างต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเพื่อการนั้น | ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ นายจ้างต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด | |
มาตรา ๘ ให้นายจ้างบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยให้นายจ้างจัดทำเอกสารหรือรายงานที่มีการตรวจสอบและรับรองโดยบุคคลหรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในกฎกระทรวง | ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของสถานประกอบกิจการ เช่น การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.) ผู้ที่มาดำเนินการอบรมให้ต้องเป็นหน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรืออนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย โดยสามารถตรวจสอบได้จากใบอนุญาตของแต่ละบริษัท | |
มาตรา ๙ บุคคลหรือนิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษานายจ้างในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ตามข้อ 2.) จะต้องขึ้นทะเบียน (สำหรับบุคคล) และต้องได้รับใบการอนุญาตจากอธิบดี (สำหรับนิติบุคคล) ถ้าสำนักความปลอดภัยแรงงานกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่รับขึ้นทะเบียน เพิกถอนการขึ้นทะเบียนไม่ออกใบอนุญาตไม่ต่อ ใบอนุญาต หรือพักใช้ใบอนุญาตมีสิทธิอุทธรณ์ต่ออธิบดีภายใน 30 วัน | หน่วยงานหรือบริษัทที่จะให้บริการในด้านความปลอดภัย ฯ เช่น ให้บริการด้านกรตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้บริการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ ต้องไปขอขึ้นทะเบียนจาก อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย |
|
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานไม่รับขึ้นทะเบียนหรือเพิกถอนทะเบียนตามมาตรา ๙ ผู้ขอขึ้นทะเบียนหรือผู้ถูกเพิกถอนทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่ออธิบดีภายในสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการไม่รับขึ้นทะเบียนหรือการเพิกถอนทะเบียนคำวินิจฉัยของอธิบดีให้เป็นที่สุด | หน่วยงานหรือบริษัทที่ไปขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรอง ประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษานายจ้างในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ไม่รับแจ้งในทะเบียนหรือถูกเพิกถอน | |
มาตรา ๑๑ นิติบุคคลใดประสงค์จะให้บริการในการตรวจวัด ตรวจสอบ ทดสอบ รับรองประเมินความเสี่ยง รวมทั้งจัดฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษาเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ จะต้องได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีคุณสมบัติของผู้ขออนุญาต การขออนุญาต การอนุญาต การขอต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต การกำหนดค่าบริการ และวิธีการให้บริการตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง | หน่วยงานหรือบริษัทที่จะให้บริการในด้านความปลอดภัย ฯ เช่น ให้บริการด้านการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้บริการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ จะต้องได้รับอนุญาตอธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย | |
มาตรา ๑๒ ในกรณีที่อธิบดีไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ไม่ออกใบแทนใบอนุญาตหรือพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกให้แก่นิติบุคคลตามมาตรา ๑๑ นิติบุคคลนั้นมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือของอธิบดีแจ้งการไม่ออกใบอนุญาต หรือการไม่ต่ออายุใบอนุญาต หรือการเพิกถอนใบอนุญาตคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด | หน่วยงานหรือบริษัทที่จะให้บริการในด้านความปลอดภัย ฯ เช่น ให้บริการด้านการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้บริการฝึกอบรมเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ สามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ไม่รับแจ้งในทะเบียนหรือถูกเพิกถอน | |
มาตรา ๑๓ ให้นายจ้างจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงานหรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและบุคลากรตามวรรคหนึ่งจะต้องขึ้นทะเบียนต่อกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้นำบทบัญญัติมาตรา ๙ วรรคสอง และมาตรา ๑๐ มาใช้บังคับกับการขึ้นทะเบียนเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยอนุโลม | 1.จัดฝึกอบรม จป. ตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด 2.แต่งตั้งพนักงานที่ผ่านการฝึกอบรม จป. โดยให้ผู้บริหารสูงสุดลงนามในเอกสารการแต่งตั้ง 3.จัดทำจดหมายแจ้งต่อสำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ 4.การจัดหา จป.ว ที่มีคุณสมบัติตามที่กฎกระทรวงกำหนด และแต่งตั้งเป็น จป.ว ของสถานประกอบกิจการ 5. นำเอกสารส่งหรือส่งไปรษณีย์ ดังนี้ - จดหมายแจ้งขึ้นทะเบียนเป็น จป. ของสถานประกอบกิจการ - แบบแจ้งขึ้นทะเบียนเป็น จป. ของสถานประกอบกิจการ - สำเนาแต่งตั้งเป็น จป. ของสถานประกอบกิจการ - สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ผ่านการฝึกอบรม - สำเนาใบวุฒิบัตรผู้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร จป. - สำเนาวุฒิการศึกษาของผู้ที่จะขึ้นทะเบียนเป็น จป.ว ของสถานประกอบกิจการ | |
มาตรา ๑๔ ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในสภาพการทำงานหรือสภาพแวดล้อมในการทำงานที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการทำงานและแจกคู่มือปฏิบัติงานให้ลูกจ้างทุกคนก่อนที่ลูกจ้างจะเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงาน | 1. สำรวจพื้นที่การทำงาน 2. จัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ 3. มอบคู่มือความปลอดภัยในการทำงานและชี้แจงอันตรายที่อาจเกิดขึ้น พร้อมแนวทางปฏิบัติที่ปลอดภัยให้พนักงานทราบ | |
มาตรา ๑๕ ในกรณีที่นายจ้างได้รับคำเตือน คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของอธิบดี คำสั่งของ พนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ให้นายจ้างแจ้งหรือปิดประกาศคำเตือน คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยดังกล่าว ในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง | นำคำวินิจฉัยของอธิบดี คำสั่งของพนักงานตรวจความปลอดภัย หรือคำ วินิจฉัยของคณะกรรมการ ที่ได้รับติดประกาศบนบอร์ดหรือพื้นที่ติดประกาศให้กับพนักงานในสถานประกอบกิจการรับทราบ ไม่น้อยกว่า 15 วัน | |
มาตรา ๑๖ ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ อธิบดีประกาศกำหนด | 1.จัดทำแผนการฝึกอบรม 2.จัดฝึกอบรม ผู้บริหาร พนักงานทุกหน่วยงานตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด 3.จัดทำทะเบียนผู้ผ่านการฝึกอบรม | |
มาตรา ๑๗ ให้นายจ้างติดประกาศสัญลักษณ์เตือนอันตรายและเครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมทั้งข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้างตามที่อธิบดีประกาศกำหนดในที่ที่เห็นได้ง่าย ณ สถานประกอบกิจการ | 1.จัดทำโปสเตอร์แสดงข้อความข้อความแสดงสิทธิของนายจ้างและลูกจ้าง 2.จัดทำ/จัดซื้อสัญลักษณ์เตือน เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ ในการทำงาน เช่น ป้ายให้สวมใส่ PPE ป้ายเตือนให้ระวังอันตรายจากรังสี ป้ายเตือนให้ระวังอันตรายจากของตกหล่นจากที่สูง เป็นต้น 3.ติดประกาศ ตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ในที่เห็นได้ชัดเจน | |
มาตรา ๑๘ ในกรณีที่สถานที่ใดมีสถานประกอบกิจการหลายแห่ง ให้นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการในสถานที่นั้น มีหน้าที่ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการตามวรรคหนึ่ง รวมทั้งลูกจ้างซึ่งทำงานในสถานประกอบกิจการอื่นที่ไม่ใช่ของนายจ้าง ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งใช้ในสถานประกอบกิจการนั้นด้วย | 1. นายจ้างทุกรายของสถานประกอบกิจการที่ตั้งในสถานที่เดียวกัน ร่วมกันดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ ในการทำงาน 2. ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ระเบียบต่าง ๆ ที่นายจ้างกำหนด | |
มาตรา ๑๙ ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้น ตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ การดำเนินการตามวรรคหนึ่งไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดซึ่งให้เช่า หรือผู้ให้เช่าในอันที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าทดแทนใด ๆ ตลอดจนการบอกเลิกสัญญาเช่า | 1.จัดทำเอกสารใบรับรองโดยนิติบุคคล 2.เก็บหลักฐานการดำเนินการไว้รอการตรวจสอบ | |
มาตรา ๒๐ ให้ผู้บริหารหรือหัวหน้างานมีหน้าที่สนับสนุนและร่วมมือกับนายจ้างและบุคลากรอื่น เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรา ๘ มาตรา ๑๖ มาตรา ๑๘ และมาตรา ๒๒ | มอบหมายหน้าที่งานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการเป็นหน้าที่ของทุกคน | |
มาตรา ๒๑ ลูกจ้างมีหน้าที่ดูแลสภาพแวดล้อมในการทำ งานตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา ๘ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ และสุขภาพอนามัยโดยคำนึงถึงสภาพของงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบในกรณีที่ลูกจ้างทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหาย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองให้แจ้งต่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร และให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน หัวหน้างาน หรือผู้บริหาร แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้าในกรณีที่หัวหน้างานทราบถึงข้อบกพร่องหรือการชำรุดเสียหายซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ต้องดำเนินการป้องกันอันตรายนั้นภายในขอบเขตที่รับผิดชอบหรือที่ได้รับมอบหมายทันทีที่ทราบ กรณีไม่อาจดำเนินการได้ ให้แจ้งผู้บริหารหรือนายจ้างดำเนินการแก้ไขโดยไม่ชักช้า | 1.ให้พนักงานดูแลสำรวจสภาพแวดล้อมในการทำงานในพื้นที่ของตนเอง 2.เมื่อพบอันตราย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (จป.), หัวหน้างาน, ผู้บริหาร 3.ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน แจ้งเป็นหนังสือต่อนายจ้างโดยไม่ชักช้า | |
มาตรา ๒๒ ให้นายจ้างจัดและดูแลให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานตามที่อธิบดีประกาศกำหนดลูกจ้างมีหน้าที่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและดูแลรักษาอุปกรณ์ตามวรรคหนึ่งให้สามารถใช้งานได้ตามสภาพและลักษณะของงานตลอดระยะเวลาทำงาน ในกรณีที่ลูกจ้างไม่สวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว ใหนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดการทำงานนั้นจนกว่าลูกจ้างจะสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าว | 1. สำรวจประเภทและลักษณะของงาน จำนวนผู้ปฏิบัติงาน ภายในสถานประกอบกิจการ 2. จัดหา PPE ให้ลูกจ้าง ตามผลการสำรวจ ที่ได้รับมาตรฐานตามที่กำหนด 3. ให้ความรู้หรือฝึกอบรมวิธีการใช้ PPE ที่ถูกต้องให้พนักงาน | |
มาตรา ๒๓ ให้ผู้รับเหมาชั้นต้นและผู้รับเหมาช่วงตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานมีหน้าที่ดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของลูกจ้างเช่นเดียวกับนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้รับเหมาช่วง และมีผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไป ให้ผู้รับเหมาช่วงถัดขึ้นไปตลอดสายจนถึงผู้รับเหมาชั้นต้นที่มีลูกจ้างทำงานในสถานประกอบกิจการเดียวกัน มีหน้าที่ร่วมกันในการจัดสถานที่ทำงานให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ถูกสุขลักษณะเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างทุกคน | 1.จัดทำทะเบียนผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในสถานประกอบกิจการ 2.จัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัย ในหารทำงานให้ผู้รับเหมาก่อนเข้ามาปฏิบัติงาน 3.จัดทำทะเบียนรายชื่อผู้ผ่านการฝึกอบรม 4.เมื่อผู้รับเหมาเข้ามาทำงานให้ตรวจสอบตามทะเบียนรายชื่อ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนตัวผู้ทำงานซึ่งไม่ผ่านการอบรม | |
มาตรา 32 เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับ ดูแลการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) จัดให้มีการประเมินอันตราย (2) ศึกษาผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีผลต่อลูกจ้าง (3) จัดทำแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทำงานและจัดทำแผนการควบคุมดูแลลูกจ้างและสถานประกอบกิจการ (4) ส่งผลการประเมินอันตราย การศึกษาผลกระทบ แผนการดำเนินงานและแผนการ ควบคุมตาม (1) (2) และ (3) ให้อธิบดีหรือผู้ซึ่ง | 1.ประเมินความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน 2.จัดทำมาตรการหรือแนวทางป้องกัน อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น 3.จัดทำแผนงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ 4.ส่งผลการดำเนินงานตามข้อ 1-3 ต่อ | |
อธิบดีมอบหมาย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ประเภทกิจการ ขนาดของ กิจการที่ต้องดำเนินการ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง นายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำและได้รับการรับรองผล จากผู้ชำนาญการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน | สำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ | |
มาตรา 34 ในกรณีที่สถานประกอบกิจการใดเกิดอุบัติภัยร้ายแรง หรือลูกจ้างประสบ อันตรายจากการทำงาน ให้นายจ้างดำเนินการดังต่อไปนี้ (1) กรณีที่ลูกจ้างเสียชีวิต ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใดที่มีรายละเอียดพอสมควร และให้แจ้งรายละเอียดและสาเหตุ เป็นหนังสือภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ลูกจ้างเสียชีวิต (2) กรณีที่สถานประกอบกิจการได้รับความเสียหายหรือต้องหยุดการผลิต หรือมีบุคคล ในสถานประกอบกิจการประสบอันตรายหรือได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากเพลิงไหม้ การระเบิด สารเคมีรั่วไหล หรืออุบัติภัยร้ายแรงอื่น ให้นายจ้างแจ้งต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในทันทีที่ทราบ โดยโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิธีอื่นใด และให้แจ้งเป็นหนังสือโดยระบุสาเหตุอันตรายที่เกิดขึ้น ความเสียหาย การแก้ไขและวิธีการป้องกันการเกิดซ้ำอีกภายในเจ็ดวันนับแต่วันเกิดเหตุ (3) กรณีที่มีลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วยตามกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน เมื่อนายจ้าง แจ้งการประสบอันตรายหรือ | 1.จัดทำแบบ สปร. 5 2.จัดทำบันทึกเรียนสำนักความปลอดภัยแรงงาน 3.นำเอกสารตามข้อ 1-2 ส่งสำนักความปลอดภัยแรงงานพื้นที่ที่สถานประกอบกิจการตั้งอยู่ | |
เจ็บป่วยต่อสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมายดังกล่าวแล้ว ให้นายจ้าง ส่งสำเนาหนังสือแจ้งนั้นต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยภายในเจ็ดวันด้วย การแจ้งเป็นหนังสือตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนดและเมื่อพนักงาน ตรวจความปลอดภัยได้รับแจ้งแล้ว ให้ดำเนินการตรวจสอบและหามาตรการป้องกันอันตรายโดยเร็ว |